หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 มีบุคคลจำนวนมากถูกควบคุมตัว เพราะใช้เสรีภาพในการแสดงออก คัดค้านการรัฐประหาร ทั้งโดยการชูสามนิ้วตามหนังดัง ชูกระดาษเขียนข้อความรณรงค์หรือชูกระดาษเปล่า รวมทั้งแสดงออกด้วยการอ่านหนังสือหรือกินแซนวิชในที่สาธารณะหลังถูกควบคุมตัว บุคคลที่ใช้เสรีภาพในการแสดงออก และตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าทำความผิดตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 7/2557 เรื่องห้ามมิให้มั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป จะถูกส่งตัวไปสอบสวน ณ สถานที่ใดที่หนึ่ง ก่อนถูกส่งตัวไปฝากขังที่กองบังคับการปราบปราม หรือที่สั้นๆ ว่ากองปราบกองปราบตั้งอยู่บริเวณ ถนนพหลโยธิน เมื่อไปถึงกองปราบ ผู้ต้องสงสัยจะถูกควบคุมตัวไว้ที่อาคารสีฟ้าซึ่งตั้งอยู่ด้านในสุดของกองปราบ โดยพวกเขาอาจจะถูกควบคุมตัวที่กองปราบอาจนานมากสุดถึง 7 วัน ซึ่งเป็นอำนาจที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. กฎอัยการศึก พ.ศ.2457
โดยปกติแล้วญาติสามารถเข้าเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัวได้ โดยแจ้งความจำนงกับเจ้าหน้าที่เวรที่หน้าห้องควบคุมตัว จากนั้นเจ้าหน้าที่จะพาผู้มาเยี่ยมเข้าไปในห้องควบคุมตัวด้านหลัง ซึ่งเวลาที่อนุญาตได้แก่ เวลา 8.00 – 9.00 น. 12.00 – 13.00 น. และ 16.00 – 17.00 น. ในระหว่างที่ถูกควบคุมตัว ผู้ถูกควบคุมตัวจะได้รับการแจกอาหารตามเวลาที่กำหนด แต่เครื่องดื่มและสิ่งของจำเป็นต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ยา ขนม ฯลฯ ญาติหรือผู้เข้าเยี่ยมจะต้องซื้อไปให้เอง
สำหรับบรรยากาศในห้องขังก็ไม่ได้ดูน่ากลัวและอย่างที่หลายคนจินตนาการ ถึงจะเป็นห้องขังแต่ก็สะอาดสะอ้าน และมีพัดลมเปิดคลายความร้อน ผู้ชายและผู้หญิงจะถูกควบคุมตัวรวมในห้องขังเดียวกัน แต่เวลานอนจะแยกห้องกัน
แม้ว่าเวลาเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัวและผู้มาเยี่ยมจะอยู่ห่างกันเพียงลูกกรงกั้น แต่บางครั้งการสนทนากันก็ต้องอาศัยทักษะการแยกประสาทที่ดี เพราะบ่อยครั้งก็มีคนมาเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัวพร้อมกันหลายคน ทำให้เสียงพูดคุยดังเซ็งแซ่ไปหมด สิ่งที่ต้องทำคือต้องเอาใจจดจ่อกับคู่สนทนาและต้องระวังไม่พูดดังจนเสียงรบกวนคนอื่น
เมื่อหมดเวลาเยี่ยม จะมีเจ้าหน้าที่เวรเดินมาแจ้ง แต่หากยังสนทนากันไม่จุใจ ก็สามารถรอเข้าเยี่ยมรอบต่อไปได้ เพราะที่กองปราบไม่มีการจำกัดรอบเยี่ยมเหมือนเรือนจำที่ผู้ต้องขังหนึ่งคนพบญาติได้เพียงหนึ่งครั้งต่อวันเท่านั้น
แม้การเยี่ยมในแต่ละรอบจะมีเวลาให้ไม่นานนัก และผู้มาเยี่ยมบางคนก็ต้องใช้เวลาเดินทางนานแสนนานก่อนจะฝ่าการจราจรที่ติดขัดมาถึงกองปราบ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ต้องสูญสิ้นอิสรภาพเพราะถูกควบคุมตัวแล้ว กำลังใจและการได้เห็นหน้าคนห่วงใย ย่อมเป็นเหมือนเปลวไฟที่หล่อเลี้ยงเปลวไฟไม่ให้มอดดับ แม้ในห้วงเวลาที่แสนมืดมน
แผนที่กองปราบ
โดยปกติแล้วญาติสามารถเข้าเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัวได้ โดยแจ้งความจำนงกับเจ้าหน้าที่เวรที่หน้าห้องควบคุมตัว จากนั้นเจ้าหน้าที่จะพาผู้มาเยี่ยมเข้าไปในห้องควบคุมตัวด้านหลัง ซึ่งเวลาที่อนุญาตได้แก่ เวลา 8.00 – 9.00 น. 12.00 – 13.00 น. และ 16.00 – 17.00 น. ในระหว่างที่ถูกควบคุมตัว ผู้ถูกควบคุมตัวจะได้รับการแจกอาหารตามเวลาที่กำหนด แต่เครื่องดื่มและสิ่งของจำเป็นต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ยา ขนม ฯลฯ ญาติหรือผู้เข้าเยี่ยมจะต้องซื้อไปให้เอง
สำหรับบรรยากาศในห้องขังก็ไม่ได้ดูน่ากลัวและอย่างที่หลายคนจินตนาการ ถึงจะเป็นห้องขังแต่ก็สะอาดสะอ้าน และมีพัดลมเปิดคลายความร้อน ผู้ชายและผู้หญิงจะถูกควบคุมตัวรวมในห้องขังเดียวกัน แต่เวลานอนจะแยกห้องกัน
แม้ว่าเวลาเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัวและผู้มาเยี่ยมจะอยู่ห่างกันเพียงลูกกรงกั้น แต่บางครั้งการสนทนากันก็ต้องอาศัยทักษะการแยกประสาทที่ดี เพราะบ่อยครั้งก็มีคนมาเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัวพร้อมกันหลายคน ทำให้เสียงพูดคุยดังเซ็งแซ่ไปหมด สิ่งที่ต้องทำคือต้องเอาใจจดจ่อกับคู่สนทนาและต้องระวังไม่พูดดังจนเสียงรบกวนคนอื่น
เมื่อหมดเวลาเยี่ยม จะมีเจ้าหน้าที่เวรเดินมาแจ้ง แต่หากยังสนทนากันไม่จุใจ ก็สามารถรอเข้าเยี่ยมรอบต่อไปได้ เพราะที่กองปราบไม่มีการจำกัดรอบเยี่ยมเหมือนเรือนจำที่ผู้ต้องขังหนึ่งคนพบญาติได้เพียงหนึ่งครั้งต่อวันเท่านั้น
แม้การเยี่ยมในแต่ละรอบจะมีเวลาให้ไม่นานนัก และผู้มาเยี่ยมบางคนก็ต้องใช้เวลาเดินทางนานแสนนานก่อนจะฝ่าการจราจรที่ติดขัดมาถึงกองปราบ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ต้องสูญสิ้นอิสรภาพเพราะถูกควบคุมตัวแล้ว กำลังใจและการได้เห็นหน้าคนห่วงใย ย่อมเป็นเหมือนเปลวไฟที่หล่อเลี้ยงเปลวไฟไม่ให้มอดดับ แม้ในห้วงเวลาที่แสนมืดมน
ที่มา: http://ilaw.or.th/node/3149
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น