"ตอนนี้กองทัพได้นำเอาปัตตานีโมเดลมาใช้กับทั้งประเทศ" ภายใต้ปลายกระบอกปืนขุนศึกของพระราชา...เพื่อรักษาอำนาจและผลประโยชน์ให้ระบอบเผด็จการทรราชราชาธิปไตย...
"ชาวใต้ผู้ไม่ต้องการความรุนแรงหวาดกลัวว่ารัฐประหารกำลังบั่นทอนเสรีภาพครั้งใหม่ของพวกเขา"
บทความโดย Andrew R.C. Marshall จาก ปัตตานี, ประเทศไทย วันที่ 17 มิถุนายน 2557
(ได้รับการแปลภาษาไทยโดนแฟนเพจ นักข่าวหน้าจอ ท่านที่สนใจสามารถติดตามข่าวประเทศไทยจากต่างประเทศไทยที่ไม่ถูกเซ็นเซอร์ได้ที่นี่)
------------
ปัตตานี ประเทศไทย (รอยเตอร์) - เมื่อก่อนพวกเขาเคยอภิปรายให้ฟังถึงการคอร์รัปชั่นและการเมือง พวกเขาเคยพูดเกี่ยวกับเรื่องการประกันสุขภาพ พูดถึงเรื่องสิทธิสตรี พูดเกี่ยวกับความกังวลว่าจะเลี้ยงดูบุตรหลานให้เติบโตขึ้นมาในมุมมืดแห่งนี้ของประเทศไทยได้อย่างไร ในดินแดนที่ซึ่งสงครามได้คร่าชีวิตคนไปกว่า 6,000 คนในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา
แต่ตอนนี้พวกเขาก็เงียบงันไป
เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ "มีเดียเซลาตัน" สถานีวิทยุชุมชนเป็นที่นิยมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ที่ซึ่งมุสลิมผู้แบ่งแยกดินแดนใช้เป็นฐานในการต่อสู้กับทหารของรัฐบาลมาตั้งแต่ปี 2547 แต่หลังจากการยึดอำนาจในวันที่ 22 พฤษภาคมโดยกองทัพไทย คณะผู้ยึดอำนาจก็ได้ออกคำสั่งให้ทำการปิดสถานีวิทยุชุมชนนับพันแห่งทั่วประเทศ และ มีเดียเซลาตัน ก็เป็นหนึ่งในสถานีที่ถูกปิดไป
มีเดียเซลาตัน ซึ่งเป็นชื่อภาษามาเลย์อันมีความหมายว่า "สื่อของชาวใต้" นั้น เป็นมากกว่าพื้นที่แสดงความเห็นของประชาชนผู้เบื่อหน่ายกับภาวะสงครามในพื้นที่ นับตั้งแต่ที่มีการเริ่มต้นการเจรจาสันติภาพขึ้นเมื่อปีกลายสถานีดังกล่าวยังกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเบ่งบานของเสรีภาพในการแสดงความเห็นทางการเมืองของมุสลิมผู้พูดภาษามาเลย์ในพื้นที่ ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในดินแดนที่ปกครองโดยชาวพุทธที่พูดภาษาไทย
ชาวจังหวัดชายแดนภาคใต้หลายคนเริ่มกังวลว่าต่อไปนี้กองทัพจะใช้การทำรัฐประหารครั้งนี้เพื่อทวงคืนเสรีภาพที่ได้มาอย่างยากลำบากของพวกเขา "มันเหมือนกับการปิดหูปิดตาประชาชน" Wanahmad Wankuejik กล่าวถึงกรณีที่สถานีของเขาได้ถูกปิดลงตามคำสั่งของคสช.
กลุ่มประชาสังคมในพื้นที่ได้ออกมาแสดงความห่วงไยแล้วว่าการเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ระดับสูง และการเข้ามารับผิดชอบพื้นที่ของผู้บัญชาการทหารที่ค่อนข้างแข็งกร้าวเหล่านี้อาจจะทำให้สถานการณ์เปราะบางในพื้นที่ซึ่งก็นับว่าเป็น ความขัดแย้งที่เลวร้ายที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ยิ่งแย่เข้าไปอีก
วันที่ 24 พฤษภาคม มีการเหตุระเบิดต่อเนื่องกันหลายจุดในเขตอำเภอเมืองปัตตานีซึ่งไม่ค่อยเกิดขึ้นนัก เหตุการณ์ในวันนั้นได้คร่าชีวิตประชาชนไป 3 คน และมีผู้บาดเจ็บอีกนับสิบ นี่อาจจะเป็นสัญญาณกระตุ้นให้เกิดความกลัวที่ว่าความรุนแรงครั้งใหม่ภายหลังการทำรัฐประหารอาจกำลังประทุขึ้น
"กรุงเทพยังไม่ว่าง"
ภายหลังจากการถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยกว่าศตวรรษที่ผ่านมา ดินแดนด้ามขวานแห่งนี้ก็ได้ถูกบ่มเพาะด้วยไร้ซึ่งความสนใจใยดีจากการปกครองทางไกลของกรุงเทพฯ เป็นผลให้ความรุนแรงครั้งล่าสุดเริ่มประทุขึ้นในช่วงต้นปี 2543 ซึ่งเกิดขึ้นจากกลุ่มเครือข่ายติดอาวุธที่เข้มแข็งนับพันในพื้นที่ ต่อสู้กับเจ้าหน้าภาครัฐกว่า 60,000 นายอันประกอบด้วย ทหาร ตำรวจ และ กองกำลังกึ่งทหาร (อาทิ ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ลูกเสือขาวบ้าน ฯลฯ - VFV)
มีรายงานในพื้นที่ที่เกี่ยวกับการต่อสู้ด้วยอาวุธปืน การขับรถยิงกราด การตัดศรีษะ และการวางระเบิดเกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน กฎอัยการศึกซึ่งเพิ่งถูกประกาศใช้ในเดือนที่ผ่านมาในส่วนอื่นๆของประเทศไทยนั้นในความเป็นจริงได้ถูกประกาศใช้ในปัตตานีและพื้นที่ใกล้เคียงอันรวมถึงจังหวัดนราธิวาส และ ยะลามาเป็นนับเป็นเวลากว่าทศวรรษแล้ว
รัฐบาลที่ผ่านมาหลายๆรัฐบาล และคนไทยส่วนใหญ่ ต่างก็สาละวนกับการจัดการเรื่องความวุ่นวายทางการเมืองที่ยุ่งเหยิงอยู่แล้วในส่วนอื่นๆของประเทศ จนลืมที่จะให้ความสนใจกับปัญหาที่เกิดในพื้นที่ส่วนที่เรียกว่าดินแดนใต้สุดของประเทศแห่งนี้
กองทัพได้ทำการรัฐประหารขึ้นในเดือนพฤษภาคมภายหลังจากการประท้วงบนถนนที่ยืดเยื้อและรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมากว่าหกเดือน ซึ่งเป็นการประทุอีกครั้งของสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่าง ชนชั้นนำผู้จงรักภักดีซึ่งมีถิ่นอยู่ในกรุงเทพฯเป็นหลัก กับ กลุ่มเสื้อแดงซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนชนบท ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนอดีตนายกผู้ถูกยึดอำนาจ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ พี่ชายของเธอ อดีตนายก ทักษิณ
ก่อนที่วิกฤติทางการเมืองครั้งนี้จะประทุขึ้น รัฐบาลของยิ่งลักษณ์ได้เริ่มต้นการเจรจาสันติภาพขึ้นกับกลุ่มที่ก่อความรุนแรง Barisan Revolusi Nasional (หรือ ภาษาอังกฤษว่า National Revolutionary Front, หรือ BRN) ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์เมืองหลวงของประเทศมาเลเซียเมื่อปีก่อน
การเจรจาต้องสะดุดลงในที่สุด แต่การเจรจาที่เกิดขึ้นก็มีมากพอที่จะกระตุ้นให้กลุ่มประชาสังคมต่างๆ ซึ่งรวมถึง นักเคลื่อนไหวทางสังคม นักวิชาการ นักข่าว นักศึกษา และ นักกฎหมายออกมามีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นมากขึ้น พวกเขาต่างก็พูดกันถึง การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ และเรียกร้องให้มีการให้ความสำคัญมากขึ้นต่อ ภาษามาเลย์ วัฒนธรรม และความแตกต่างในพื้นที่
การกลับมาเปิดการเจรจาสันติภาพอีก "น่าจะไม่เกิดขึ้น"
ตั้งแต่การยึดอำนาจ กองทัพได้กระทำการในสิ่งที่นายตำรวจอาวุโสคนนึงขนานนามว่าเป็นการ "สังคายนาระบบ" ของข้าราชการที่พวกเขาเชื่อว่ามีความจงรักภักดีต่อทักษิณ หรือ ยิ่งลักษณ์
หนึ่งในนั้นคือ ทวี สอดส่อง อดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารกิจการชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) ทวีนั้นเป็นที่นิยมในหมู่ของชาวมุสลิมเชื้อสายมาเลย์ด้วยนโยบายการจ่ายเงินช่วยเหลือเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง และ ความพยายามสืบสวนกรณีการใช้อำนาจในทางไม่ชอบโดยเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของรัฐ
แต่เพียงแค่สองวันหลังการรัฐประหาร เขาก็ถูกย้ายเข้าไปยังหน่วยงานที่ไม่มีความสำคัญ และตำแหน่งของเขาก็ถูกแทนที่ด้วย ภานุ อุทัยรัตน์ อดีตผู้บริหารของศอบต. ซึ่งมีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับกลุ่มผู้จงรักภักดีกับราชวงศ์และกลุ่มผู้นำของกองทัพ
แต่ที่เป็นที่น่ากังวลสำหรับกลุ่มประชาสังคมมากกว่าคือการที่ พล.ท.วลิต โรจนภักดี เข้ามารับตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 4 ซึ่งเป็นกองพลซึ่งมีความรับผิดชอบโดยตรงในการควบคุมภาคใต้ของประเทศไทย พล.ท.วลิต ถูกมอบหมายให้รับผิดชอบตำแหน่งนี้ในการโยกย้ายของกองทัพสองเดือนก่อนการรัฐประหาร
พล.ท.วลิตก็เหมือนกับผู้นำรัฐบาลทหารคนปัจจุบันพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ตรงที่ต่างก็มาจากทหารในกลุ่มสาย "บูรพาพยัคฆ์" หรือ กองกำลังรักษาพระองค์ของพระราชินี ซึ่งเป็นกองกำลังที่มีส่วนสำคัญในการทำรัฐประหารทั้งสองครั้งที่ผ่านมา คือในเดือนก่อน และในปี 2549 ครั้งที่เอาทักษิณลงจากอำนาจ
ในปี 2553 พล.ท.วลิตได้รับบาดเจ็บ ในขณะที่นายทหารผู้ช่วยของเขาตายในระหว่างการประทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงวันที่ 10 เมษายนในกรุงเทพฯ ซึ่งตอนนั้นเขาเป็นผู้ควบคุมกองพันทหารราบที่ 2 ซึ่งเป็นกองกำลังที่เป็นศูนย์กลางในการเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมโดยการทหารอันยังผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 90 คน
วลิตนั้นน่าจะเป็นพวกที่ "ยึดถือแนวทางตามตำรากลยุทธทางการทหาร" โดยแนวทางการบัญชาน่าจะเป็นการเน้นเรื่องการหาข่าว และ เพิ่มความถี่การเข้าจู่โจมที่แหล่งหลบซ่อนของพวกผู้ก่อความไม่สงบให้มากขึ้น ตามความเห็นของ แอนโทนี เดวิส ซึ่งที่มีถิ่นอยู่ในประเทศไทยและนักวิเคราะห์ให้กับองค์กรให้คำปรึกษาด้านความมั่นคง IHS-Jane's
เดวิสกล่าวต่อว่า หรือไม่เขาก็อาจจะกลับมาใช้วิธีการซึ่ง "เป็นการโต้ตอบการต่อต้านที่รุนแรงมากขึ้น" ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกใช้มาในช่วงปี 2550 และ 2551 ในเวลานั้นผู้ต้องสงสัยชาวมุสลิมเชื้อสายมาเลย์เป็นจำนวนนับร้อยคนถูกควบคุมตัวจากผลของการปฏิบัติการทางการทหารที่เป็นวงกว้าง ซึ่งเป็นการเติมไฟให้เกิดความคับข้องใจจากชาวบ้านมาก แต่กลับมีผลบรรเทาช่วยสถานการณ์ความรุนแรงระยะยาวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
"ไม่ว่าจะใช้วิธีไหนก็ตาม มันจะไม่ใช่การปฏิบัติการแบบปกติ" เดวิสกล่าว เผด็จการทหารจะไม่มีทางที่จะกลับมาเริ่มต้นการเจรจาสันติภาพกับกลุ่มก่อความไม่สงบ BRN ในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้าแน่ๆ เขากล่าวเพิ่มเติม
"เอาชนะใจและความคิด"
วิธีการใช้ความรุนแรงอาจจะทำให้ความขัดแย้งถูกยกระดับจากที่จำกัดอยู่ในวงของจังหวัดชายแดนขึ้นมาอยู่ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว โดยปกติเมืองหาดใหญ่ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่ใกล้กับพื้นที่ความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ก็ต้องเผชิญกับการโจมตีโดยการวางระเบิดอยู่หลายครั้งอยู่แล้ว แต่เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านก็ยังปรากฎว่าตำรวจในจังหวดภูเก็ตได้ตรวจพบคาร์บอมบ์และจัดการถอดชนวนออกได้
พ.อ วีระชน สุคนธปฏิภาค โฆษกของกองทัพกล่าวว่า "การเจรจาสันติภาพยังคงเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานของเรา" ซึ่งเป็นกล่าวเพิ่มเติมว่ารัฐบาลเผด็จการทหารกำลังออกแบบแผนการเพื่อที่จะ "นำเอาทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหา"
"เรายังคงเชื่อว่าในการแก้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เราจำเป็นที่จะต้องเอาชนะใจ และความคิดของคนในพื้นที่" เขากล่าว
ถึงอย่างนั้นก็ตาม นักข่าวหลายๆคน รวมถึงนักเคลื่อนไหวต่างก็เตรียมพร้อมที่จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด
เพียงแค่หนึ่งสัปดาห์หลังจากการรัฐประหาร พล.ต.วลิตได้ทำการเรียกตัวนักข่าวหลายคนเข้าไปยังค่ายทหารของเขา และเตือนว่าการตีพิมพ์เรื่องราวที่ "เป็นลบ" เกี่ยวกับกองทัพจะมีความผิดที่ต้องระวางโทษจำคุกสองปี
มาตรการหลายๆอย่างที่ถูกนำมาใช้โดยคณะรัฐประหารเพื่อที่จะกดขี่ฝ่ายต่อต้านรัฐประหารในประเทศไทยครั้งนี้ ดูเป็นวิธีโสมมที่คุ้นเคยของชาวมุสลิมในภาคใต้ของไทยมาก
ในเดือนที่ผ่านมา มีนักเคลื่อนไหวและนักการเมืองหลายร้อยคนถูกควบคุมตัวโดยไม่มีข้อหาในค่ายทหาร ซึ่งหลายคนต้องเข้าสู่กระบวนการที่เจ้าหน้าที่ทหารเรียกว่า "การปรับทัศนคติ"
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเช่นกัน ที่มีชาวมุสลิมเชื้อสายมาเลย์ที่ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงในพื้นที่ นับพันคนที่ถูกควบคุมตัวและบางครั้งก็ถูกทรมาณโดยกองทัพ หรือ บางคนก็ถูกบังคับให้เข้าสู่แผน"การอบรมให้การศึกษาใหม่"
การรณรงค์ครั้งล่าสุดของกองทัพหลังการรัฐประหารเพื่อ "นำความสุขคืนสู่คนไทย" โดยการจัดงานงานแสดงรื่นเริงขึ้นนั้น ทำให้นึกถึงเสียงคร่ำครวญที่เล็ดลอดออกมาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดินแดนที่ซึ่งมีความพยายามที่จะเอาชนะหัวใจและความคิดของคนในพื้นที่ แต่กลับละเลยถึงการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่
"ตอนนี้กองทัพได้นำเอาปัตตานีโมเดลมาใช้กับทั้งประเทศ" นักข่าวในพื้นที่ที่ไม่ประสงค์จะเอ่ยนาม เพราะเกรงเรื่องความปลอดภัยคนหนึ่งกล่าว "เพื่อนของผมหลายๆคนที่กรุงเทพบอกกับผมว่า ตอนนี้พวกเขารู้แล้วว่าจะรู้สึกแบบไหนถ้าต้องมาใช้ชีวิตอยู่ทีนี่"
แปลโดย VFV
ที่มา : http://www.reuters.com/article/2014/06/17/us-thailand-pattani-insight-idUSKBN0ES2TQ20140617
บทความโดย Andrew R.C. Marshall จาก ปัตตานี, ประเทศไทย วันที่ 17 มิถุนายน 2557
(ได้รับการแปลภาษาไทยโดนแฟนเพจ นักข่าวหน้าจอ ท่านที่สนใจสามารถติดตามข่าวประเทศไทยจากต่างประเทศไทยที่ไม่ถูกเซ็นเซอร์ได้ที่นี่)
------------
ปัตตานี ประเทศไทย (รอยเตอร์) - เมื่อก่อนพวกเขาเคยอภิปรายให้ฟังถึงการคอร์รัปชั่นและการเมือง พวกเขาเคยพูดเกี่ยวกับเรื่องการประกันสุขภาพ พูดถึงเรื่องสิทธิสตรี พูดเกี่ยวกับความกังวลว่าจะเลี้ยงดูบุตรหลานให้เติบโตขึ้นมาในมุมมืดแห่งนี้ของประเทศไทยได้อย่างไร ในดินแดนที่ซึ่งสงครามได้คร่าชีวิตคนไปกว่า 6,000 คนในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา
แต่ตอนนี้พวกเขาก็เงียบงันไป
เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ "มีเดียเซลาตัน" สถานีวิทยุชุมชนเป็นที่นิยมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ที่ซึ่งมุสลิมผู้แบ่งแยกดินแดนใช้เป็นฐานในการต่อสู้กับทหารของรัฐบาลมาตั้งแต่ปี 2547 แต่หลังจากการยึดอำนาจในวันที่ 22 พฤษภาคมโดยกองทัพไทย คณะผู้ยึดอำนาจก็ได้ออกคำสั่งให้ทำการปิดสถานีวิทยุชุมชนนับพันแห่งทั่วประเทศ และ มีเดียเซลาตัน ก็เป็นหนึ่งในสถานีที่ถูกปิดไป
มีเดียเซลาตัน ซึ่งเป็นชื่อภาษามาเลย์อันมีความหมายว่า "สื่อของชาวใต้" นั้น เป็นมากกว่าพื้นที่แสดงความเห็นของประชาชนผู้เบื่อหน่ายกับภาวะสงครามในพื้นที่ นับตั้งแต่ที่มีการเริ่มต้นการเจรจาสันติภาพขึ้นเมื่อปีกลายสถานีดังกล่าวยังกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเบ่งบานของเสรีภาพในการแสดงความเห็นทางการเมืองของมุสลิมผู้พูดภาษามาเลย์ในพื้นที่ ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในดินแดนที่ปกครองโดยชาวพุทธที่พูดภาษาไทย
ชาวจังหวัดชายแดนภาคใต้หลายคนเริ่มกังวลว่าต่อไปนี้กองทัพจะใช้การทำรัฐประหารครั้งนี้เพื่อทวงคืนเสรีภาพที่ได้มาอย่างยากลำบากของพวกเขา "มันเหมือนกับการปิดหูปิดตาประชาชน" Wanahmad Wankuejik กล่าวถึงกรณีที่สถานีของเขาได้ถูกปิดลงตามคำสั่งของคสช.
กลุ่มประชาสังคมในพื้นที่ได้ออกมาแสดงความห่วงไยแล้วว่าการเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ระดับสูง และการเข้ามารับผิดชอบพื้นที่ของผู้บัญชาการทหารที่ค่อนข้างแข็งกร้าวเหล่านี้อาจจะทำให้สถานการณ์เปราะบางในพื้นที่ซึ่งก็นับว่าเป็น ความขัดแย้งที่เลวร้ายที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ยิ่งแย่เข้าไปอีก
วันที่ 24 พฤษภาคม มีการเหตุระเบิดต่อเนื่องกันหลายจุดในเขตอำเภอเมืองปัตตานีซึ่งไม่ค่อยเกิดขึ้นนัก เหตุการณ์ในวันนั้นได้คร่าชีวิตประชาชนไป 3 คน และมีผู้บาดเจ็บอีกนับสิบ นี่อาจจะเป็นสัญญาณกระตุ้นให้เกิดความกลัวที่ว่าความรุนแรงครั้งใหม่ภายหลังการทำรัฐประหารอาจกำลังประทุขึ้น
"กรุงเทพยังไม่ว่าง"
ภายหลังจากการถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยกว่าศตวรรษที่ผ่านมา ดินแดนด้ามขวานแห่งนี้ก็ได้ถูกบ่มเพาะด้วยไร้ซึ่งความสนใจใยดีจากการปกครองทางไกลของกรุงเทพฯ เป็นผลให้ความรุนแรงครั้งล่าสุดเริ่มประทุขึ้นในช่วงต้นปี 2543 ซึ่งเกิดขึ้นจากกลุ่มเครือข่ายติดอาวุธที่เข้มแข็งนับพันในพื้นที่ ต่อสู้กับเจ้าหน้าภาครัฐกว่า 60,000 นายอันประกอบด้วย ทหาร ตำรวจ และ กองกำลังกึ่งทหาร (อาทิ ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ลูกเสือขาวบ้าน ฯลฯ - VFV)
มีรายงานในพื้นที่ที่เกี่ยวกับการต่อสู้ด้วยอาวุธปืน การขับรถยิงกราด การตัดศรีษะ และการวางระเบิดเกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน กฎอัยการศึกซึ่งเพิ่งถูกประกาศใช้ในเดือนที่ผ่านมาในส่วนอื่นๆของประเทศไทยนั้นในความเป็นจริงได้ถูกประกาศใช้ในปัตตานีและพื้นที่ใกล้เคียงอันรวมถึงจังหวัดนราธิวาส และ ยะลามาเป็นนับเป็นเวลากว่าทศวรรษแล้ว
รัฐบาลที่ผ่านมาหลายๆรัฐบาล และคนไทยส่วนใหญ่ ต่างก็สาละวนกับการจัดการเรื่องความวุ่นวายทางการเมืองที่ยุ่งเหยิงอยู่แล้วในส่วนอื่นๆของประเทศ จนลืมที่จะให้ความสนใจกับปัญหาที่เกิดในพื้นที่ส่วนที่เรียกว่าดินแดนใต้สุดของประเทศแห่งนี้
กองทัพได้ทำการรัฐประหารขึ้นในเดือนพฤษภาคมภายหลังจากการประท้วงบนถนนที่ยืดเยื้อและรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมากว่าหกเดือน ซึ่งเป็นการประทุอีกครั้งของสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่าง ชนชั้นนำผู้จงรักภักดีซึ่งมีถิ่นอยู่ในกรุงเทพฯเป็นหลัก กับ กลุ่มเสื้อแดงซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนชนบท ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนอดีตนายกผู้ถูกยึดอำนาจ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ พี่ชายของเธอ อดีตนายก ทักษิณ
ก่อนที่วิกฤติทางการเมืองครั้งนี้จะประทุขึ้น รัฐบาลของยิ่งลักษณ์ได้เริ่มต้นการเจรจาสันติภาพขึ้นกับกลุ่มที่ก่อความรุนแรง Barisan Revolusi Nasional (หรือ ภาษาอังกฤษว่า National Revolutionary Front, หรือ BRN) ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์เมืองหลวงของประเทศมาเลเซียเมื่อปีก่อน
การเจรจาต้องสะดุดลงในที่สุด แต่การเจรจาที่เกิดขึ้นก็มีมากพอที่จะกระตุ้นให้กลุ่มประชาสังคมต่างๆ ซึ่งรวมถึง นักเคลื่อนไหวทางสังคม นักวิชาการ นักข่าว นักศึกษา และ นักกฎหมายออกมามีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นมากขึ้น พวกเขาต่างก็พูดกันถึง การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ และเรียกร้องให้มีการให้ความสำคัญมากขึ้นต่อ ภาษามาเลย์ วัฒนธรรม และความแตกต่างในพื้นที่
การกลับมาเปิดการเจรจาสันติภาพอีก "น่าจะไม่เกิดขึ้น"
ตั้งแต่การยึดอำนาจ กองทัพได้กระทำการในสิ่งที่นายตำรวจอาวุโสคนนึงขนานนามว่าเป็นการ "สังคายนาระบบ" ของข้าราชการที่พวกเขาเชื่อว่ามีความจงรักภักดีต่อทักษิณ หรือ ยิ่งลักษณ์
หนึ่งในนั้นคือ ทวี สอดส่อง อดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารกิจการชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) ทวีนั้นเป็นที่นิยมในหมู่ของชาวมุสลิมเชื้อสายมาเลย์ด้วยนโยบายการจ่ายเงินช่วยเหลือเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง และ ความพยายามสืบสวนกรณีการใช้อำนาจในทางไม่ชอบโดยเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของรัฐ
แต่เพียงแค่สองวันหลังการรัฐประหาร เขาก็ถูกย้ายเข้าไปยังหน่วยงานที่ไม่มีความสำคัญ และตำแหน่งของเขาก็ถูกแทนที่ด้วย ภานุ อุทัยรัตน์ อดีตผู้บริหารของศอบต. ซึ่งมีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับกลุ่มผู้จงรักภักดีกับราชวงศ์และกลุ่มผู้นำของกองทัพ
แต่ที่เป็นที่น่ากังวลสำหรับกลุ่มประชาสังคมมากกว่าคือการที่ พล.ท.วลิต โรจนภักดี เข้ามารับตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 4 ซึ่งเป็นกองพลซึ่งมีความรับผิดชอบโดยตรงในการควบคุมภาคใต้ของประเทศไทย พล.ท.วลิต ถูกมอบหมายให้รับผิดชอบตำแหน่งนี้ในการโยกย้ายของกองทัพสองเดือนก่อนการรัฐประหาร
พล.ท.วลิตก็เหมือนกับผู้นำรัฐบาลทหารคนปัจจุบันพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ตรงที่ต่างก็มาจากทหารในกลุ่มสาย "บูรพาพยัคฆ์" หรือ กองกำลังรักษาพระองค์ของพระราชินี ซึ่งเป็นกองกำลังที่มีส่วนสำคัญในการทำรัฐประหารทั้งสองครั้งที่ผ่านมา คือในเดือนก่อน และในปี 2549 ครั้งที่เอาทักษิณลงจากอำนาจ
ในปี 2553 พล.ท.วลิตได้รับบาดเจ็บ ในขณะที่นายทหารผู้ช่วยของเขาตายในระหว่างการประทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงวันที่ 10 เมษายนในกรุงเทพฯ ซึ่งตอนนั้นเขาเป็นผู้ควบคุมกองพันทหารราบที่ 2 ซึ่งเป็นกองกำลังที่เป็นศูนย์กลางในการเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมโดยการทหารอันยังผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 90 คน
วลิตนั้นน่าจะเป็นพวกที่ "ยึดถือแนวทางตามตำรากลยุทธทางการทหาร" โดยแนวทางการบัญชาน่าจะเป็นการเน้นเรื่องการหาข่าว และ เพิ่มความถี่การเข้าจู่โจมที่แหล่งหลบซ่อนของพวกผู้ก่อความไม่สงบให้มากขึ้น ตามความเห็นของ แอนโทนี เดวิส ซึ่งที่มีถิ่นอยู่ในประเทศไทยและนักวิเคราะห์ให้กับองค์กรให้คำปรึกษาด้านความมั่นคง IHS-Jane's
เดวิสกล่าวต่อว่า หรือไม่เขาก็อาจจะกลับมาใช้วิธีการซึ่ง "เป็นการโต้ตอบการต่อต้านที่รุนแรงมากขึ้น" ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกใช้มาในช่วงปี 2550 และ 2551 ในเวลานั้นผู้ต้องสงสัยชาวมุสลิมเชื้อสายมาเลย์เป็นจำนวนนับร้อยคนถูกควบคุมตัวจากผลของการปฏิบัติการทางการทหารที่เป็นวงกว้าง ซึ่งเป็นการเติมไฟให้เกิดความคับข้องใจจากชาวบ้านมาก แต่กลับมีผลบรรเทาช่วยสถานการณ์ความรุนแรงระยะยาวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
"ไม่ว่าจะใช้วิธีไหนก็ตาม มันจะไม่ใช่การปฏิบัติการแบบปกติ" เดวิสกล่าว เผด็จการทหารจะไม่มีทางที่จะกลับมาเริ่มต้นการเจรจาสันติภาพกับกลุ่มก่อความไม่สงบ BRN ในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้าแน่ๆ เขากล่าวเพิ่มเติม
"เอาชนะใจและความคิด"
วิธีการใช้ความรุนแรงอาจจะทำให้ความขัดแย้งถูกยกระดับจากที่จำกัดอยู่ในวงของจังหวัดชายแดนขึ้นมาอยู่ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว โดยปกติเมืองหาดใหญ่ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่ใกล้กับพื้นที่ความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ก็ต้องเผชิญกับการโจมตีโดยการวางระเบิดอยู่หลายครั้งอยู่แล้ว แต่เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านก็ยังปรากฎว่าตำรวจในจังหวดภูเก็ตได้ตรวจพบคาร์บอมบ์และจัดการถอดชนวนออกได้
พ.อ วีระชน สุคนธปฏิภาค โฆษกของกองทัพกล่าวว่า "การเจรจาสันติภาพยังคงเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานของเรา" ซึ่งเป็นกล่าวเพิ่มเติมว่ารัฐบาลเผด็จการทหารกำลังออกแบบแผนการเพื่อที่จะ "นำเอาทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหา"
"เรายังคงเชื่อว่าในการแก้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เราจำเป็นที่จะต้องเอาชนะใจ และความคิดของคนในพื้นที่" เขากล่าว
ถึงอย่างนั้นก็ตาม นักข่าวหลายๆคน รวมถึงนักเคลื่อนไหวต่างก็เตรียมพร้อมที่จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด
เพียงแค่หนึ่งสัปดาห์หลังจากการรัฐประหาร พล.ต.วลิตได้ทำการเรียกตัวนักข่าวหลายคนเข้าไปยังค่ายทหารของเขา และเตือนว่าการตีพิมพ์เรื่องราวที่ "เป็นลบ" เกี่ยวกับกองทัพจะมีความผิดที่ต้องระวางโทษจำคุกสองปี
มาตรการหลายๆอย่างที่ถูกนำมาใช้โดยคณะรัฐประหารเพื่อที่จะกดขี่ฝ่ายต่อต้านรัฐประหารในประเทศไทยครั้งนี้ ดูเป็นวิธีโสมมที่คุ้นเคยของชาวมุสลิมในภาคใต้ของไทยมาก
ในเดือนที่ผ่านมา มีนักเคลื่อนไหวและนักการเมืองหลายร้อยคนถูกควบคุมตัวโดยไม่มีข้อหาในค่ายทหาร ซึ่งหลายคนต้องเข้าสู่กระบวนการที่เจ้าหน้าที่ทหารเรียกว่า "การปรับทัศนคติ"
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเช่นกัน ที่มีชาวมุสลิมเชื้อสายมาเลย์ที่ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงในพื้นที่ นับพันคนที่ถูกควบคุมตัวและบางครั้งก็ถูกทรมาณโดยกองทัพ หรือ บางคนก็ถูกบังคับให้เข้าสู่แผน"การอบรมให้การศึกษาใหม่"
การรณรงค์ครั้งล่าสุดของกองทัพหลังการรัฐประหารเพื่อ "นำความสุขคืนสู่คนไทย" โดยการจัดงานงานแสดงรื่นเริงขึ้นนั้น ทำให้นึกถึงเสียงคร่ำครวญที่เล็ดลอดออกมาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดินแดนที่ซึ่งมีความพยายามที่จะเอาชนะหัวใจและความคิดของคนในพื้นที่ แต่กลับละเลยถึงการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่
"ตอนนี้กองทัพได้นำเอาปัตตานีโมเดลมาใช้กับทั้งประเทศ" นักข่าวในพื้นที่ที่ไม่ประสงค์จะเอ่ยนาม เพราะเกรงเรื่องความปลอดภัยคนหนึ่งกล่าว "เพื่อนของผมหลายๆคนที่กรุงเทพบอกกับผมว่า ตอนนี้พวกเขารู้แล้วว่าจะรู้สึกแบบไหนถ้าต้องมาใช้ชีวิตอยู่ทีนี่"
แปลโดย VFV
ที่มา : http://www.reuters.com/article/2014/06/17/us-thailand-pattani-insight-idUSKBN0ES2TQ20140617
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น