นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com
วันนี้(1 ก.ค.) ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตส.ส.ปชป.และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวแสดงความคิดเห็นกรณีกระแสข่าวที่ สนช.เตรียมเสนอ คสช. จัดตั้งกรมราง เพื่อทำหน้าที่ซ่อมบำรุงรักษาทางรถไฟ เผยอาจไม่จำเป็น พร้อมเสนอแนวคิดว่าควรกลับไปปรับโครงสร้างการบริหาร รฟท.จะดีกว่า
มีเนื้อหาดังนี้
ตั้ง "กรมราง" พัฒนา "รถไฟไทย" ได้จริงหรือ
เวลานี้มีกระแสข่าวว่า สนข. เตรียมเสนอ คสช. เพื่อจัดตั้งกรมราง ซึ่งจะทำหน้าที่ลงทุนก่อสร้างและบำรุงรักษาทางรถไฟ และสถานีรถไฟ รวมทั้งติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ทั้งนี้เพื่อให้กรมรางซึ่งเป็นหน่วยราชการแบกรับภาระหนี้สินแทน รฟท. โดยหลังจากการจัดตั้งกรมรางแล้ว รฟท. จะทำหน้าที่ให้บริการเดินรถไฟเพียงอย่างเดียว ไม่มีหน้าที่ในการก่อสร้างและบำรุงรักษาอีกต่อไป โดย รฟท. มีรถไฟและที่ดินเป็นทรัพย์สิน
ผมพยายามวิเคราะห์ดูว่าการตั้งกรมรางจะช่วยพัฒนารถไฟไทยได้อย่างไร ก็ได้คำตอบว่าถ้ารัฐบาลรับผิดชอบเงินลงทุนและเงินบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานของรถไฟแทน รฟท. ก็จะทำให้ รฟท.มีขีดความสามารถในการให้บริการเพิ่มขึ้น แต่การสนับสนุนโดยรัฐบาลดังกล่าวนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องจัดตั้งกรมรางขึ้นมาใหม่ เพียงแค่ปรับโครงสร้างการบริหารเท่านั้นก็พอ โดยแบ่งการดำเนินงานของ รฟท. เป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนโครงสร้างพื้นฐาน
ให้รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างและบำรุงรักษาทางรถไฟ สถานีรถไฟ และการติดตั้งอาณัติสัญญาณ เช่นเดียวกับการที่รัฐบาลลงทุนก่อสร้างและบำรุงรักษาถนนของกรมทางหลวง
2. ส่วนการให้บริการเดินรถไฟ
เป็นการให้บริการขนส่งผู้โดยสาร การขนส่งสินค้า และสถานีขนถ่ายสินค้า
3. ส่วนการบริหารทรัพย์สิน
เป็นการพัฒนาที่ดินของ รฟท. ซึ่งมีอยู่ถึง 234,976.96 ไร่ รวมทั้งการให้เช่าบริเวณสถานีรถไฟ การให้เช่าที่ติดตั้งเคเบิลใยแก้ว และธุรกรรมอื่นๆ
หากปรับโครงสร้างการบริหาร รฟท.ได้เช่นนี้ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องจัดตั้งกรมรางขึ้นมา เพราะการจัดตั้งกรมรางมีข้อเสียคือ จะทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องบรรจุข้าราชการเข้าทำงานในกรมราง ในขณะที่ไม่สามารถลดจำนวนพนักงาน รฟท. ลงได้ หากต้องการจะโอนพนักงาน รฟท. มาอยู่กรมราง ก็คงไม่มีใครมา เพราะผลตอบแทนต่ำกว่า รฟท. เนื่องจาก รฟท. เป็นรัฐวิสาหกิจ
การแก้ปัญหา รฟท. โดยการตั้งกรมรางขึ้นมานั้น ผมมีความเห็นว่าเป็นการหนีปัญหามากกว่าการแก้ โดยอาจเห็นว่าไม่สามารถฟื้นฟู รฟท.ได้ จึงตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมา ซึ่งเป็นแนวทางไม่ถูกต้อง
อย่าลืมนะครับว่า ก่อนที่เราจะมี รฟท. ในปี พ.ศ. 2494 นั้น เรามีกรมรถไฟหลวงซึ่งเป็นหน่วยงานราชการ นั่นหมายความว่า ในอดีตเราเห็นว่าหน่วยงานราชการไม่เหมาะสมที่จะรับผิดชอบระบบราง จึงเปลี่ยนมาเป็นรัฐวิสาหกิจ มาบัดนี้จะเปลี่ยนบางส่วนของรัฐวิสาหกิจกลับไปเป็นราชการอีก
แล้วอย่างนี้ รถไฟไทยจะเดินหน้าได้อย่างไร ช่วยกันคิดด้วยครับ
นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com
วันนี้(1 ก.ค.) ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตส.ส.ปชป.และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวแสดงความคิดเห็นกรณีกระแสข่าวที่ สนช.เตรียมเสนอ คสช. จัดตั้งกรมราง เพื่อทำหน้าที่ซ่อมบำรุงรักษาทางรถไฟ เผยอาจไม่จำเป็น พร้อมเสนอแนวคิดว่าควรกลับไปปรับโครงสร้างการบริหาร รฟท.จะดีกว่า
มีเนื้อหาดังนี้
ตั้ง "กรมราง" พัฒนา "รถไฟไทย" ได้จริงหรือ
เวลานี้มีกระแสข่าวว่า สนข. เตรียมเสนอ คสช. เพื่อจัดตั้งกรมราง ซึ่งจะทำหน้าที่ลงทุนก่อสร้างและบำรุงรักษาทางรถไฟ และสถานีรถไฟ รวมทั้งติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ทั้งนี้เพื่อให้กรมรางซึ่งเป็นหน่วยราชการแบกรับภาระหนี้สินแทน รฟท. โดยหลังจากการจัดตั้งกรมรางแล้ว รฟท. จะทำหน้าที่ให้บริการเดินรถไฟเพียงอย่างเดียว ไม่มีหน้าที่ในการก่อสร้างและบำรุงรักษาอีกต่อไป โดย รฟท. มีรถไฟและที่ดินเป็นทรัพย์สิน
ผมพยายามวิเคราะห์ดูว่าการตั้งกรมรางจะช่วยพัฒนารถไฟไทยได้อย่างไร ก็ได้คำตอบว่าถ้ารัฐบาลรับผิดชอบเงินลงทุนและเงินบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานของรถไฟแทน รฟท. ก็จะทำให้ รฟท.มีขีดความสามารถในการให้บริการเพิ่มขึ้น แต่การสนับสนุนโดยรัฐบาลดังกล่าวนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องจัดตั้งกรมรางขึ้นมาใหม่ เพียงแค่ปรับโครงสร้างการบริหารเท่านั้นก็พอ โดยแบ่งการดำเนินงานของ รฟท. เป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนโครงสร้างพื้นฐาน
ให้รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างและบำรุงรักษาทางรถไฟ สถานีรถไฟ และการติดตั้งอาณัติสัญญาณ เช่นเดียวกับการที่รัฐบาลลงทุนก่อสร้างและบำรุงรักษาถนนของกรมทางหลวง
ให้รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างและบำรุงรักษาทางรถไฟ สถานีรถไฟ และการติดตั้งอาณัติสัญญาณ เช่นเดียวกับการที่รัฐบาลลงทุนก่อสร้างและบำรุงรักษาถนนของกรมทางหลวง
2. ส่วนการให้บริการเดินรถไฟ
เป็นการให้บริการขนส่งผู้โดยสาร การขนส่งสินค้า และสถานีขนถ่ายสินค้า
เป็นการให้บริการขนส่งผู้โดยสาร การขนส่งสินค้า และสถานีขนถ่ายสินค้า
3. ส่วนการบริหารทรัพย์สิน
เป็นการพัฒนาที่ดินของ รฟท. ซึ่งมีอยู่ถึง 234,976.96 ไร่ รวมทั้งการให้เช่าบริเวณสถานีรถไฟ การให้เช่าที่ติดตั้งเคเบิลใยแก้ว และธุรกรรมอื่นๆ
เป็นการพัฒนาที่ดินของ รฟท. ซึ่งมีอยู่ถึง 234,976.96 ไร่ รวมทั้งการให้เช่าบริเวณสถานีรถไฟ การให้เช่าที่ติดตั้งเคเบิลใยแก้ว และธุรกรรมอื่นๆ
หากปรับโครงสร้างการบริหาร รฟท.ได้เช่นนี้ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องจัดตั้งกรมรางขึ้นมา เพราะการจัดตั้งกรมรางมีข้อเสียคือ จะทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องบรรจุข้าราชการเข้าทำงานในกรมราง ในขณะที่ไม่สามารถลดจำนวนพนักงาน รฟท. ลงได้ หากต้องการจะโอนพนักงาน รฟท. มาอยู่กรมราง ก็คงไม่มีใครมา เพราะผลตอบแทนต่ำกว่า รฟท. เนื่องจาก รฟท. เป็นรัฐวิสาหกิจ
การแก้ปัญหา รฟท. โดยการตั้งกรมรางขึ้นมานั้น ผมมีความเห็นว่าเป็นการหนีปัญหามากกว่าการแก้ โดยอาจเห็นว่าไม่สามารถฟื้นฟู รฟท.ได้ จึงตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมา ซึ่งเป็นแนวทางไม่ถูกต้อง
อย่าลืมนะครับว่า ก่อนที่เราจะมี รฟท. ในปี พ.ศ. 2494 นั้น เรามีกรมรถไฟหลวงซึ่งเป็นหน่วยงานราชการ นั่นหมายความว่า ในอดีตเราเห็นว่าหน่วยงานราชการไม่เหมาะสมที่จะรับผิดชอบระบบราง จึงเปลี่ยนมาเป็นรัฐวิสาหกิจ มาบัดนี้จะเปลี่ยนบางส่วนของรัฐวิสาหกิจกลับไปเป็นราชการอีก
แล้วอย่างนี้ รถไฟไทยจะเดินหน้าได้อย่างไร ช่วยกันคิดด้วยครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น