You can replace this text by going to "Layout" and then "Edit HTML" section. A welcome message will look lovely here.
RSS

วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ข้อมูลเรื่องพลังงานต่างๆ มีเปิดเผยทางเวป ราชการที่เกี่ยวข้อง

ไม่ได้เป็นความลับอะไร
แต่เขาบอกเล่าเป็นภาษาคนทั่วไป ไม่เป็น ตามนิสัยวิศวฯ !

แถลงการณ์กรมเชื้อเพลิงเรื่องขโมยน้ำมันนี้ ก็วกวน ผมอ่านแล้วต้องใช้ความพยายามมากจึงจะเข้าใจ ยิ่งถ้าคนที่มีใจโกรธแค้น มองข้าราชการเป็นพวกคนโกงชาติไปหมด ก็จะยิ่งไม่เชื่อถือใหญ่
คนกลางๆควรลองอ่านเขาดูก่อน พยายามจับผิดให้ได้ เพราะถ้ากรมเชื้อเพลิงผิด ร่วมขโมยด้วยจริง ต่อไปเราจะได้รวยน้ำมันกันแล้ว
//////////////////////////////////////
ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับหลุมเจาะนี้
เจ้าของสัมปทาน มาจากฮ่องกง
__________________________ำ____________
บริษัท อีโค่ โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด
สัมปทานปิโตรเลียม เลขที่ 3/2546/60 แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L44/43
เลขที่ 5/2546/62 แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L33/43
วันออกสัมปทาน 17 กรกฎาคม 2546 (มติ ครม. 26 พฤษภาคม 2546)
วันสิ้นสุดระยะเวลาสำรวจ 16 กรกฎาคม 2555
วันสิ้นสุดระยะเวลาผลิต 16 กรกฎาคม 2575
ผู้รับสัมปทานเริ่มแรก บริษัท แปซิฟิค ไทเก้อร์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด 100%
ผู้รับสัมปทานปัจจุบัน บริษัท อีโค่โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด 100%
(เดิมชื่อบริษัท แปซิฟิค ไทเกอร์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ต่อมาขายหุ้นให้กับ
บริษัท แพน โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด)

ประวัติการผลิตน้ำมันดิบของบริษัทฯ ผลิตในอัตราสูงสุด 12,500 บาร์เรลต่อวัน ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2551
และอัตราการผลิตลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการผลิตน้ำมันดิบของหลุมในแหล่งส่วนใหญ่ได้มาจากชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมที่เป็นหินภูเขาไฟ ซึ่งธรรมชาติของแหล่งกักเก็บชนิดนี้จะผลิตน้ำมันดิบได้ในปริมาณสูงในช่วงแรกเท่านั้น เนื่องจากในหินภูเขาไฟมีคุณสมบัติที่สามารถกักเก็บน้ำมันดิบได้น้อย จึงผลิตหมดไปอย่างรวดเร็วและประสบปัญหาในการผลิตน้ำในอัตราสูงจนเป็นเหตุให้ต้องปิดหลุมผลิตบางส่วน

ปัจจุบันบริษัท อีโค่ โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L44/43,L33/43
พื้นที่ผลิตนาสนุ่นตะวันออก, บ่อรังเหนือ, วิเชียรบุรีส่วนขยาย, L33
จำนวนฐานผลิตทั้งหมด 45 ฐาน
จำนวนหลุมผลิต 24 หลุม จากจำนวนหลุมทั้งหมด 110 หลุม
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 4,790 บาร์เรลต่อวัน
ปริมาณน้ำเฉลี่ย 3,583 บาร์เรลต่อวัน
ปริมาณก๊าซธรรมชาติเฉลี่ย 1.113 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
(ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2557)

การใช้ประโยชน์ในที่ดินของ ส.ป.ก.
วันที่ 16 ธันวาคม 2552 ได้รับอนุมัติพื้นที่ผลิตบ่อรังเหนือเป็นพื้นที่ 39.39 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตที่ดินของ ส.ป.ก. ท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื้อที่ประมาณ 43 ไร่ 3 งาน 35 ตารางวา ครอบคลุมพื้นที่ผลิต 6 ฐาน ได้แก่
1. พื้นที่ฐาน Borang จำนวน 4 หลุม
2. พื้นที่ฐาน L44-W จำนวน 4 หลุม
3. พื้นที่ฐาน L44W-A15. จำนวน 2 หลุม
4. พื้นที่ฐาน L44W-A14. จำนวน 1 หลุม
5. พื้นที่ฐาน 2009-A. จำนวน 1 หลุม
6. พื้นที่ฐาน L44-V จำนวน 4 หลุม

ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2555 บริษัทฯ หยุดทำการผลิตในพื้นที่ดังกล่าว หลังจากได้รับหนังสือแจ้งจาก ส.ป.ก.
ภายหลังการตรวจสอบทาง ส.ป.ก. ได้ส่งหนังสือที่ พช 0011/1017 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2555 แต่พื้นที่ L44-V ไม่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน บริษัทฯ จึงเริ่มทำการผลิตปิโตรเลียมเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2555 ซึ้งในปัจจุบันพื้นที่ฐาน L44-V มีอัตราการผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ยประมาณ 142 บาร์เรลต่อวัน (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2557) ซึ่งน้ำมันดิบที่ผลิตได้มีการตรวจสอบปริมาณการผลิต การซื้อ-ขายโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ


ด้วยพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับมอบหมายจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้มาทำการสืบสวนสอบสวนคดีที่ พันโท รัฐเขต แจ้งจำรัส กรรมาธิการพลังงานวุฒิสภาร้องทุกข์กล่าวโทษว่าบริษัทอีโค่ โอเรียน รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ลักลอบขุดเจาะน้ำมันดิบ
โดยในวันที่10 มิถุนายน 2557 พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พนักงานเจ้าหน้าที่จากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร, กรมที่ดิน, กรมป่าไม้ จะเข้ามาตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ และบันทึกปากคำพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องตามที่รับแจ้ง ว่ามีการดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่

ดังนั้นกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลและตรวจสอบการทำงานในด้านการสำรวจ ผลิต ขนส่งและซื้อขายปิโตรเลียม ของผู้รับสัมปทานในประเทศไทย จึงส่งตัวแทนเข้าร่วมตรวจสอบการสืบสวนสอบสวนและชี้แจงข้อเท็จจริง
ในครั้งนี้

เหตุการณ์ของวันที่ 10 มิถุนายน 2557
พนักงานสอบสวน ผู้ร้อง(พันโทรัฐเขตและพวก) ผู้ให้ข้อมูล ได้ตรวจสอบ
1. พื้นที่ฐาน Borang จำนวน 4 หลุม
2. พื้นที่ฐาน L44-W จำนวน 4 หลุม
3. พื้นที่ฐาน L44W-A15. จำนวน 2 หลุม
4. พื้นที่ฐาน L44W-A14. จำนวน 1 หลุม
5. พื้นที่ฐาน 2009-A. จำนวน 1 หลุม
6. พื้นที่ฐาน L44-V จำนวน 4 หลุม
ร่วมกันโดยลำดับ1-5ได้หยุดผลิตและลำดับ6ได้มีการผลิตจริง อีกทั้งตัวแทนจากกรมป่าไม้ สปก และที่ดินร่วมกันรังวัดพิกัดทั้ง6พื้นที่ฐานเพื่อประกอบเป็นหลักฐานให้พนักงานสอบสวน
พร้อมกับเจ้าหน้าที่ สปก ได้ยืนยันว่าพื้นที่ฐาน1-5อยู่ในพื้นที่ สปก แต่พื้นที่ฐานที่6ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ สปก
โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้ยืนยันว่าพื้นที่ทั้ง6ฐานอยู่ภายใต้พื้นที่สัมปทาน ในช่วงที่มีการผลิตก็มีการเสียค่าภาคหลวงให้รัฐตามปริมาณที่ถูกต้องแต่เมื่อหยุดผลิตก็ไม่มีค่าภาคหลวงเกิดขึ้น อีกทั้งพื้นที่ฐาน L44-V ที่มีการผลิตอยู่เนื่องจากไม่อยู่ในพื้นที่ สปก แต่อยู่ในพื้นที่สัมปทาน ดังนั้นจึงดำเนินการผลิตและมีการเก็บค่าภาคหลวงตามปกติหลังจากได้รับการแจ้งว่าไม่ได้แยู่ในพื้นที่ สปก จาก สปกจังหวัดเพชรบูรณ์เมื่อวันที่25 ธันวาคม 2556
ซึ่งข้อมูลทั้งหมดอยู่ในกระบวนการสอบสวนของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการร้องทุกข์คราวนี้ จึงไม่สามารถสรุปว่าสิ่งใดผิดหรือถูกได้ในปัจจุบัน
นอกเหนือจากนั้นพันโทรัฐเขตยังได้พาคณะเข้าตรวจสอบพื้นที่ฐานเพิ่มอีก1จุด โดยอ้างว่ามีการแอบผลิตและอยู่ในพื้นที่ สปกแต่เมื่อมีการวัดพิหัดร่วมกัน เจ้าหน้าที่ที่ดินได้ยืนยันว่าเป็นที่มีโฉนดและถือครองโดยบริษัทฯพร้อมกับบริษัทฯก็มีโฉนดยืนยันถูกต้อง

ประเด็นที่ถูกบิดเบือนภายหลังจากการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุและบันทึกปากคำพร้อมรับเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการโดยพนักงานสอบสวนในวันที่10 มิถุนายน 2557

ภายหลังจากการได้หารือและชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งวิเชียรบุรีของบริษัท อีโค่ โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด โดยนายปรศักดิ์ งามสมภาค พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ. ปิโตรเลียม/ตัวแทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติต่อพันโทรัฐเขต แจ้งจำรัส ผลการชี้แจงคือพันโทรัฐเขตเข้าใจในทุกประเด็นและไม่มีข้อสงสัย
ต่อมาสื่อต่างๆได้นำเสนอการให้สัมภาษณ์ของพันโทรัญเขตและพวกที่มีการบิดเบือนข้อมูล ยุยง ปลุกปั่นให้ประชาชนเกิดการเข้าใจผิดดังนี้
1. มีการแจ้งข่าว ป่าวประกาศทางสังคมออนไลน์ว่าหลุมผลิตของแหล่งวิเชียรบุรีมีทั้งหมด 95หลุม ซึ่งในความเป็นจริงมีหลุมผลิตเพียง 24 หลุม
2. มีการกล่าวอ้างว่าเป็นคำสั่งของพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ในการมาตรวจสอบครั้งนี้ แต่ไม่สามารถแสดงหนังสือคำสั่งหรือรายละเอียดคำสั่งที่ชัดเจนได้
3. มีการกล่าวอ้างในประเด็นเด็ด7สีว่ามีการลักลอบขุดเจาะน้ำมันในพื้นที่สปกและหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าภาคหลวงมา5ปี รัฐเสียหายกว่าหมื่นล้านบาท โดยคุณอรรถพล ดวงจินดา ได้กล่าวว่ามีคำสั่งให้หยุดแต่ยังมีการลักลอบขุดผลิตได้ไม่ต่ำกว่า1200บาร์เรลต่อบ่อ
โดยในความเป็นจริงคือไม่มีการผลิตในพื้นที่ที่มีคำสั่งให้หยุดผลิตโดยสปก จนกระทั่งปัจจุบันยกเว้นพื้นที่ฐาน L44-V ที่ สปก แจ้งว่าไม่ได้อยู่ในพื้นที่สปกและมีอัตราการผลตเพียงวันละประมาณ 142บาร์เรลต่อวัน
4. พันโทรัฐเขตได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อว่าความผิดสำเร็จเรียบร้อย โดยในความเป็นจริงยังอยู่ในกระบวนการสอบสวน ยังไม่สามารถสรุปข้อเท็จจริงได้
5. คุณวิวัฒน์ชัย กุลมาตย์ ที่ปรึกษาเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นแห่งชาติได้กล่าวโทษ สปกและกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติที่ยอมให้มีการลักลอบผลิตน้ำมันดิบและไม่เสียค่าภาคหลวงทำให้รัฐเสียประโยชน์ แต่ในความเป็นจริงสปกและกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติไม่ได้มีการให้บริษัทฯผลิตน้ำมันดิบในพื้นที่สปกแต่อย่างใดและการผลิตและการจัดเก็บค่าภาคหลวงถูกดำเนินการอย่างถูกต้องและครบถ้วน
อ้างถึง: คลิปข่าวประเด็นเด็ด7สี
http://m.bugaboo.tv/watch/126657
คลิปการสนทนาระหว่างเจ้าหน้าที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติและพันโทรัฐเขตและพวก1,2
http://www.youtube.com/watch?v=Ed0DcRVSKvA&feature=youtu.be
http://www.youtube.com/watch?v=cVB8us0m8EM&feature=youtu.be


ปรศักดิ์ งามสมภาค
กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

Read Comments
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น