You can replace this text by going to "Layout" and then "Edit HTML" section. A welcome message will look lovely here.
RSS

วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บทเรียนสำคัญจากเขมรแดง – การจัดการความแตกต่างคนในชาติ


เมื่อ วานนี้ศาลพิเศษของกัมพูชาอ่านคำตัดสินที่ถือว่าเป็นกรณีประวัติศาสตร์หน้า สำคัญของเขมรแดง และของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยก็ว่าได้

ศาลตัดสินให้นายเขียว สัมพันและนายนวน เจีย อดีตผู้นำเขมรแดงสองคนต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต ฐานก่ออาชญากรรมกับมนุษยชาติ

สิ้น เสียงคำตัดสินของผู้พิพากษา ชาวกัมพูชาที่ร่วมรับฟังการพิจารณาคดีต่างปรบมือแสดงความยินดี ขณะที่องค์การนิรโทษกรรมสากลหรือ Amnesty International แอมเนสตี้แสดงความเห็นว่านี่เป็นการผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรม

จำนวน ชาวกัมพูชาที่เสียชีวิตในระหว่างปี พ.ศ. 2518 – 2522 นั้นเชื่อกันว่ามีร่วมสองล้านคน ช่วงนั้นเป็นสมัยยุคที่เขมรแดงเรืองอำนาจ  แต่ต้องใช้เวลากว่าสามสิบปีจึงได้เริ่มพิจารณาคดีนี้โดยศาลพิเศษที่สนับ สนุนโดยสหประชาชาติในปีพ.ศ. 2550

ศาลตัดสินว่านายนวน เจีย อายุ 88 ปี และนายเขียว สัมพัน อายุ 83 ปี มีความผิดฐาน “ฆาตกรรมแบบขุดรากถอนโคน ประหัตประหารทางการเมืองและกระทำการอันไร้มนุษยธรรม เกี่ยวพันกับการหายตัว การบังคับฝืนใจ และการโจมตีต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”


โจ นะธาน เฮด ผู้สื่อข่าวบีบีซีที่ไปติดตามข่าวในกรุงเนมเปญบอกว่านายนวน เจียซึ่งยืนขึ้นฟังคำพิพากษาไม่ไหวดูจะไม่แสดงความรู้สึกมากนัก แต่เขียว สัมพันดูมีอาการโกรธอย่างชัดเจน ทั้งคู่ไม่ยอมให้ครอบครัวไปฟังคำพิพากษา พวกเขาปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดบอกว่าเป็นเรื่องปั้นแต่งขึ้นทั้งสิ้นและทนาย ความของทั้งสองประกาศว่าจะยื่นอุทธรณ์

คนที่ไปรอฟังคำ พิพากษา ส่วนหนึ่งคือคนที่รอดชีวิตในช่วงนั้น บางคนบอกว่าโล่งใจเหมือนภาระถูกปลดจากบ่า ขณะที่บางคนก็บอกว่า มันน้อยไปสำหรับสิ่งที่พวกเขาทำ ซวน มอม วัยเจ็ดสิบห้าบอกกับเอพีว่า ไม่มีวันลืมเรื่องที่เกิดขึ้น เธอเสียสามีและลูกสี่คนที่ตายเพราะไม่มีอาหารกิน “ยังจำวันที่ฉันเดินไปตามถนนเพื่อออกจากพนมเปญ ไม่มีอาหารหรือแม้แต่น้ำให้กิน”

เป็นที่เข้าใจกันว่า นวน เจียเป็นผู้ผลักดันในเรื่องอุดมการณ์ ขณะที่นายเขียว สัมพันเป็นคนที่ออกนอกหน้าต่อสาธารณะให้กับเขมรแดง พวกเขาเป็นผู้นำสูงสุดของเขมรแดงที่ถูกนำตัวพิจารณาโทษ

บี บีซีไทยได้คุยกับทรงฤทธิ์ โพนเงิน นักวิชาการอิสระและคณะกรรมการศูนย์แม่น้ำโขงศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เขาสะท้อนบทเรียนจากเรื่องเขมรแดงกับการยึดติดกับอุดมคติทางการเมืองและการ ใช้อำนาจสังหารหมู่ประชาชนว่า เป็นผลมาจากความบ้าคลั่งลิทธิ และการทดลองอุดมคติที่ไม่สอดคล้องกับสังคม โดยเขมรแดงมีจุดประสงค์จะสร้าง "สังคมอุดมคติ สังคมที่ไม่พึ่งทุนนิยม เน้นการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม และการผลิตแบบพึ่งพาช่วยเหลือกัน โดยมีชนชั้นกรรมาชีพเป็นตัวขับเคลื่อน”

แต่ ในทางปฎิบัติ เขมรแดงกวาดต้อนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดจากกรุงพนมเปญและเมืองสำคัญอื่นๆ บังคับให้ทำการเกษตรและใช้แรงงานร่วมกันในพื้นที่ชนบท “พวกที่กระด้างกระเดื่องจะถูกกำจัดทิ้ง แต่คนส่วนใหญ่เสียชีวิตจากการถูกบังคับใช้แรงงาน และความอดอยาก ไปอยู่กลางดินกินกลางทราย ประชากรที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของกลุ่มเขมรแดงเรียกว่ามีจำนวนเกือบ 1ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศในขณะนั้น (ประมาณ 7.5 ล้านคน ใน พ.ศ. 2518)”

ทรง ฤทธิ์ เล่าว่ากัมพูชาในขณะนั้นอยู่ใต้ภาวะความขัดแย้งและตกต่ำ ผู้นำเขมรแดงจึงมีความคิดที่จะกลับสู่ยุคความรุ่งเรืองของอาณาจักรเขมรและ สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับตนเอง

“เราควรเรียนรู้เรื่องความ ขัดแย้งภายในประเทศที่เกิดจากความเชื่อทางการเมืองที่ต่างกัน แต่ไม่ยอมคุยกัน หรือคุยกันไม่รู้เรื่อง  ... สำหรับเขมรแดงเป็นเรื่องน่าเศร้าที่คนชาติเดียวกันใช้ภาษาเดียวกันต้องมาฆ่า กันเองเพียงเพราะบ้าคลั่งลัทธิและอำนาจ จนทำให้ถึงกับสิ้นชาติสิ้นแผ่นดิน”

ทรง ฤทธิ์ สรุปว่า ด้วยวิธีคิดที่ผิดพลาดและปฏิบัติการที่ผิดมนุษยธรรม จึงไม่น่าแปลกใจที่ศาลตัดสินอดีตผู้นำเขมรแดงว่าเป็นอาชกรสงคราม “ไม่มีลัทธิการเมืองใดสามารถนำมาใช้ได้ทั้งหมดโดยไม่ประยุกต์ให้เข้ากับ ปัจจัยภายในประเทศ ความเหมาะสมของแต่ละสังคม และความเป็นมนุษย์”

Read Comments
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น