นายโจโค วิโดโด (Joko Widodo) หรือ “โจโควี” (Jokowi)
ว่าที่ประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนต่อไป
ได้เขียนบทความลงเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ Kompass
ของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม 2014
ในช่วงที่เขาลงรับสมัครเลือกตั้งเพื่อเป็นประธานาธิบดี
โดยโจโควีได้เสนอให้อินโดนีเซียต้อง “ปฏิวัติวิธีคิด”
ของคนในชาติเพื่ออนาคตอันรุ่งเรืองของประเทศ
และเป็นการชดเชยข้อบกพร่องของกระบวนการปฎิรูปประเทศหลังสมัยซูฮาร์โต
ที่เน้นไปในเชิงสถาบันทางการเมืองเพียงอย่างเดียว
แต่กลับละเลยคุณค่าความเป็นมนุษย์ สังคม วัฒนธรรมของอินโดนีเซียลงไป
แนวทางของ โจโควี คือการสร้างระบบการเมืองที่โปร่งใสมากขึ้น พึ่งพาตัวเองได้ในเชิงเศรษฐกิจ มีความมั่นคงทั้งด้านอาหารและพลังงาน ปรับปรุงระบบการศึกษาและสาธารณสุข เน้นการจ้างงานในประเทศ ลดการเผชิญหน้ากันของกลุ่มศาสนาต่างๆ ดังที่เกิดขึ้นมาในยุคของประธานาธิบดี Yudhoyono ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา

อินโดนีเซียกำลังเผชิญสภาวะย้อนแยงที่เหล่าผู้นำประเทศต้องหาวิธีแก้ไข หลังจากการปฏิรูปประเทศเมื่อ 16 ปีก่อน (หมายถึงการปฏิรูปหลังการโค่นประธานาธิบดีซูฮาร์โตในปี 1998 – ผู้แปล
) ทำไมสังคมอินโดนีเซียจึงเติบโตขึ้นอย่างไร้ทิศทาง
ระหว่างปี 1998-2014 เรามีประธานาธิบดีทั้งสิ้น 4 คน ตั้งแต่ BJ Habibie, KH Abdurrahman Wahid, Megawati Sukarnoputri จนมาถึงประธานาธิบดีคนปัจจุบัน Susilo Bambang Yudhoyono ประเทศอินโดนีเซียเติบโตขึ้นอย่างมากทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการเมือง ประเทศเติบโตผ่านการปฏิรูปภายใต้รัฐบาลประชาธิไตยที่มาจากการเลือกตั้ง
อินโดนีเซียรุ่งเรืองจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ สถิติล่าสุดจากธนาคารโลกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2014 บอกว่าอินโดนีเซียเป็นประเทศอันดับ 10 ของโลกในแง่ขนาดของเศรษฐกิจแล้ว เรามาถึงเป้าหมายนี้ก่อนแผนการของประธานาธิบดี Yudhoyono ที่ตั้งใจว่าจะต้องทำให้สำเร็จภายในปี 2025 หลายปี ส่วนในแง่การเมือง ประชาชนอินโดนีเซียมีสิทธิและเสรีภาพในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนผ่านผู้นำผ่านกระบวนการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง
แต่ในอีกด้าน เราเห็นและสัมผัสได้ว่าสังคมอินโดนีเซียเติบโตขึ้นอย่างสับสน ดังจะเห็นได้จากการประท้วงบนท้องถนนในหลายพื้นที่ รวมถึงบนสื่อกระแสหลักและสื่อออนไลน์ อาการลักษณะนี้บอกอะไรกับเรา?
ผู้นำและนักคิดของอินโดนีเซียไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์ไม่สงบและความ วุ่นวายของมวลชนบนท้องถนนได้โดยง่าย เพราะในอีกด้าน อินโดนีเซียได้รับการยกย่องจากประชาคมโลกในแง่การปฏิรูปการเมือง ประชาธิปไตย และพัฒนาการทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี
ผมขอแสดงมุมมองผ่านบทความนี้ว่าประเทศกำลังมีปัญหาอะไร และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบใหม่ (a new paradigm) ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองหรือการพัฒนา มุมมองของผมมาจากการสังเกตและประสบการณ์ในฐานะนายกเทศมนตรี Surakarta และผู้ว่าราชการ Jakarta ดังนั้นก็ขออภัยล่วงหน้าถ้ามุมมองนี้มีข้อบกพร่องใดๆ
การพัฒนาประเทศจะไม่ได้ผลเลยถ้าเราสนใจเฉพาะกลไกเชิงสถาบัน แต่ไม่ปรับวิธีคิดหรือวิธีการทำงานของ “คน” ที่ขับเคลื่อนสถาบันต่างๆ เหล่านั้น ไม่ว่าระบบของสถาบันทางการเมืองจะยอดเยี่ยมแค่ไหน แต่ถ้าคนในสถาบันไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอจนบริหารงานผิดพลาด ก็ย่อมสร้างความสูญเสียให้แก่ประเทศชาติ ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของอินโดนีเซียตั้งแต่ได้เอกราช เราเห็นตัวอย่างการบริหารงานผิดพลาดมาซ้ำแล้วซ้ำอีกเสมอ
อินโดนีเซียแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 1945 โดยตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาหลายชุด ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชั่น (Corruption Eradication Commission) ด้วย นอกจากนี้เรายังริเริ่มระบบท้องถิ่นปกครองตัวเอง ปรับปรุงกฎหมายทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น สืบทอดการเลือกตั้งทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น กระบวนการเหล่านี้ทั้งหมดช่วยให้เราเป็นประเทศประชาธิปไตยที่ตรวจสอบได้มาก ขึ้น
แต่ในอีกด้าน ยังมีวัฒนธรรมหรือธรรมเนียมหลายอย่างที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัย Suharto ทั้งเรื่องคอร์รัปชั่น การไม่ยอมรับความหลากหลายของประชากร ความเห็นแก่ตัว การใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา การละเมิดกฎหมาย ซึ่งวัฒนธรรมเหล่านี้ยังสืบทอดมาถึงอินโดนีเซียในยุคปัจจุบัน
การคอร์รัปชั่น ถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้อินโดนีเซียเกือบล่มสลายในวิกฤตเศรษฐกิจปี 1998 จนต้องรับเงินช่วยเหลือจาก IMF แม้ว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชั่นจะทำงานหนักแค่ไหนก็ตาม การคอร์รัปชั่นก็ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนปัญหาอื่นๆ ทั้งการไม่ยอมรับความหลากหลาย ความละโมบต่อสมบัติจนต้องละเมิดกฎหมาย ก็ยังสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
ปัญหาเหล่านี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า การปฏิรูปที่เน้นเฉพาะกลไกเชิงสถาบันนั้นไม่พอเพียงต่อการขับเคลื่อนอินโดนีเซียไปข้างหน้าอีกแล้ว
การเลือกใช้คำว่า “ปฏิวัติ” หรือ revolution ไม่ได้เกินเลยไป เพราะอินโดนีเซียจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดในเชิงวัฒนธรรม การเมือง เลิกแนวทางแย่ๆ ที่สืบทอดมาจากสมัย Suharto อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปเชิงความคิดมีข้อแตกต่างจากการปฏิวัติในเชิงกายภาพ เพราะไม่ต้องมีกระบวนการเสียเลือดเนื้อ แต่จำเป็นต้องใช้พลังเชิงความคิดและจิตวิญญาณ รวมถึงการสนับสนุนจากบรรดาผู้นำประเทศ
เราจะสืบทอดแนวทาง Trisakti Bung Karno หลักการ 3 ข้อที่อดีตประธานาธิบดี Soekano พูดไว้เมื่อปี 1963 ว่าอินโดนีเซียจะต้อง
ช่วงหลังเราเห็นการเลือกตั้งมีเรื่องเงินเข้ามายุ่งเกี่ยวมากขึ้น การซื้อเสียงเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของประเทศ เราต้องปรับปรุงกระบวนการคัดเลือกตัวแทนทางการเมือง ให้มาจากความสามารถและประวัติการทำงาน มากกว่าจะเป็นฐานะหรือความเชื่อมโยงกับผู้มีอำนาจแต่เดิม
เรายังต้องปรับปรุงระบบราชการให้สะอาด เชื่อถือได้ มีศักยภาพ เพื่อทำงานตอบโจทย์ของประชาชนและรัฐบาลจากการเลือกตั้ง หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายต้องทำหน้าที่ดูแลประชาชนให้ได้ตามกฎหมาย ส่วนกองทัพแห่งชาติอินโดนีเซียก็ไม่ได้มีความสำคัญน้อยไปกว่ากัน เพราะต้องปกป้องดินแดนรวมถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสาธารณรัฐ
ในทางเศรษฐกิจ อินโดนีเซียต้องหนีให้พ้นการพึ่งพาเงินลงทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ แนวทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมที่ผ่านๆ มาทำให้อินโดนีเซียติด “กับดัก” การพึ่งพาเงินลงทุนต่างชาติ และเสียทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่ภายใต้การครอบครองของบริษัทข้ามชาติ
การปฏิรูปประเทศตลอด 16 ปีที่ผ่านมาไม่ได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารเศรษฐกิจอินโดนีเซียมากนัก รัฐบาลเปิดให้นำเข้าสินค้าจากต่างชาติได้ง่าย ผู้นำระดับสูงของประเทศสนใจแต่การหารายได้ระยะสั้น โดยไม่สนใจผลกระทบระยะยาวว่าจะทำให้ชาวนาของอินโดนีเซียอยู่ไม่ได้ มันเป็นเรื่องน่าเศร้าเพราะเราเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ แต่กลับต้องนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ ดังนั้นอินโดนีเซียจำเป็นต้องยืนได้ด้วยขาของตัวเองในทางเศรษฐกิจ ซึ่งสอดคล้องตามหลัก Trisakti อยู่แล้ว เราต้องมีความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน สองเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราต้องมีแผนการและกำหนดเวลาที่ชัดเจน วัดผลได้ ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกจากอาหารและพลังงาน เรายังสามารถใช้การนำเข้า-ส่งออกเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจได้ต่อไป
การลงทุนจากต่างชาติเพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์ในรอบไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่เงินลงทุนส่วนใหญ่ไปอยู่ในอุตสาหกรรมที่เน้นเงินทุนและกำไร ไม่ได้เน้นการจ้างงาน เราจึงต้องทบทวนนโยบายด้านการลงทุนใหม่เช่นกัน
หลักการข้อที่สามของ Trisakti กล่าวถึงการสร้างวัฒนธรรมและอัตลักษณ์เชิงสังคมของอินโดนีเซีย คุณค่าความเป็นอินโดนีเซียเริ่มหดหายเมื่อเผชิญกับโลกาภิวัฒน์และความก้าว หน้าทางเทคโนโลยี เราไม่ควรให้ประชาชนของเราสูญเสียวัฒนธรรมเดิมไปกับกระแสของวัฒนธรรมโลก ที่อาจไม่สอดคล้องกับคุณค่าดั้งเดิมของเรา
ระบบการศึกษาเป็นสิ่งที่ต้องผลักดันเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของคนอินโดนีเซีย ในฐานะที่เป็นชาติอารยะและรุ่มรวยวัฒนธรรม เคารพคุณค่าทางศาสนา อินโดนีเซียต้องสร้างโครงการที่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงระบบการศึกษาและสาธารณ สุขให้สำเร็จ
การปฏิวัติวิธีคิดจำเป็นต้องเป็นการเคลื่อนไหวระดับชาติ เราทุกคนต้องร่วมกันเปลี่ยนแปลงอินโดนีเซียให้เป็นประเทศเสรี ยุติธรรม และเจริญรุ่งเรือง เราต้องกล้าควบคุมอนาคตของเราเองภายใต้พรของพระอัลเลาะห์ เพราะว่าพระอัลเลาะห์จะไม่ช่วยเปลี่ยนแปลงชะตาของประเทศไหน จนกว่าคนของประเทศนั้นจะเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ผมเริ่มการเคลื่อนไหวนี้ตั้งแต่เป็นนายกเทศมนตรี Surakarta และทำงานต่อเนื่องเมื่อได้เป็นผู้ว่าราชการ Jakarta เท่าที่ผมทราบ เพื่อนที่คิดแบบเดียวกันก็เริ่มเคลื่อนไหวเพื่อ “ปฎิวัติวิธีคิด” ในพื้นที่อื่นๆ ผมหวังว่าแนวทางนี้จะพัฒนาตัวเองเป็นพลังในระดับชาติ เฉกเช่นเดียวกับการปฏิวัติอินโดนีเซียให้มีเอกสาร การปฏิวัติอินโดนีเซียไม่ได้สิ้นสุดลง แต่การปฏิวัติวิธีคิดกำลังเริ่มต้นขึ้นต่างหาก
แนวทางของ โจโควี คือการสร้างระบบการเมืองที่โปร่งใสมากขึ้น พึ่งพาตัวเองได้ในเชิงเศรษฐกิจ มีความมั่นคงทั้งด้านอาหารและพลังงาน ปรับปรุงระบบการศึกษาและสาธารณสุข เน้นการจ้างงานในประเทศ ลดการเผชิญหน้ากันของกลุ่มศาสนาต่างๆ ดังที่เกิดขึ้นมาในยุคของประธานาธิบดี Yudhoyono ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา

การปฏิรูปวิธีคิดของอินโดนีเซีย (Indonesia Mental Revolution)
บทความแปลจากบทแปลภาษาอังกฤษที่เผยแพร่ใน The Establishment Postอินโดนีเซียกำลังเผชิญสภาวะย้อนแยงที่เหล่าผู้นำประเทศต้องหาวิธีแก้ไข หลังจากการปฏิรูปประเทศเมื่อ 16 ปีก่อน (หมายถึงการปฏิรูปหลังการโค่นประธานาธิบดีซูฮาร์โตในปี 1998 – ผู้แปล

ระหว่างปี 1998-2014 เรามีประธานาธิบดีทั้งสิ้น 4 คน ตั้งแต่ BJ Habibie, KH Abdurrahman Wahid, Megawati Sukarnoputri จนมาถึงประธานาธิบดีคนปัจจุบัน Susilo Bambang Yudhoyono ประเทศอินโดนีเซียเติบโตขึ้นอย่างมากทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการเมือง ประเทศเติบโตผ่านการปฏิรูปภายใต้รัฐบาลประชาธิไตยที่มาจากการเลือกตั้ง
อินโดนีเซียรุ่งเรืองจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ สถิติล่าสุดจากธนาคารโลกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2014 บอกว่าอินโดนีเซียเป็นประเทศอันดับ 10 ของโลกในแง่ขนาดของเศรษฐกิจแล้ว เรามาถึงเป้าหมายนี้ก่อนแผนการของประธานาธิบดี Yudhoyono ที่ตั้งใจว่าจะต้องทำให้สำเร็จภายในปี 2025 หลายปี ส่วนในแง่การเมือง ประชาชนอินโดนีเซียมีสิทธิและเสรีภาพในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนผ่านผู้นำผ่านกระบวนการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง
แต่ในอีกด้าน เราเห็นและสัมผัสได้ว่าสังคมอินโดนีเซียเติบโตขึ้นอย่างสับสน ดังจะเห็นได้จากการประท้วงบนท้องถนนในหลายพื้นที่ รวมถึงบนสื่อกระแสหลักและสื่อออนไลน์ อาการลักษณะนี้บอกอะไรกับเรา?
ผู้นำและนักคิดของอินโดนีเซียไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์ไม่สงบและความ วุ่นวายของมวลชนบนท้องถนนได้โดยง่าย เพราะในอีกด้าน อินโดนีเซียได้รับการยกย่องจากประชาคมโลกในแง่การปฏิรูปการเมือง ประชาธิปไตย และพัฒนาการทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี
ผมขอแสดงมุมมองผ่านบทความนี้ว่าประเทศกำลังมีปัญหาอะไร และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบใหม่ (a new paradigm) ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองหรือการพัฒนา มุมมองของผมมาจากการสังเกตและประสบการณ์ในฐานะนายกเทศมนตรี Surakarta และผู้ว่าราชการ Jakarta ดังนั้นก็ขออภัยล่วงหน้าถ้ามุมมองนี้มีข้อบกพร่องใดๆ
ข้อจำกัดของสถาบันทางการเมือง
กระบวนการปฏิรูปอินโดนีเซียเริ่มขึ้นหลังจากการล่มสลายของระบบ Suharto ในปี 1998 โดยแกนหลักของการปฏิรูปเน้นไปที่ “สถาบัน” ต่างๆ ของประเทศ แต่กลับไม่ได้สนใจเรื่อง “กระบวนทัศน์” (paradigm) “ทัศนคติ” (mindset) หรือ “วัฒนธรรมทางการเมือง” (culture of politics) ของอินโดนีเซียมากนัก ดังนั้นการพัฒนาอินโดนีเซียให้ได้ผลและยั่งยืน จึงจำเป็นต้อง “ปฏิวัติความคิด” ของคนในชาติด้วย (mental revolution)การพัฒนาประเทศจะไม่ได้ผลเลยถ้าเราสนใจเฉพาะกลไกเชิงสถาบัน แต่ไม่ปรับวิธีคิดหรือวิธีการทำงานของ “คน” ที่ขับเคลื่อนสถาบันต่างๆ เหล่านั้น ไม่ว่าระบบของสถาบันทางการเมืองจะยอดเยี่ยมแค่ไหน แต่ถ้าคนในสถาบันไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอจนบริหารงานผิดพลาด ก็ย่อมสร้างความสูญเสียให้แก่ประเทศชาติ ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของอินโดนีเซียตั้งแต่ได้เอกราช เราเห็นตัวอย่างการบริหารงานผิดพลาดมาซ้ำแล้วซ้ำอีกเสมอ
อินโดนีเซียแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 1945 โดยตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาหลายชุด ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชั่น (Corruption Eradication Commission) ด้วย นอกจากนี้เรายังริเริ่มระบบท้องถิ่นปกครองตัวเอง ปรับปรุงกฎหมายทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น สืบทอดการเลือกตั้งทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น กระบวนการเหล่านี้ทั้งหมดช่วยให้เราเป็นประเทศประชาธิปไตยที่ตรวจสอบได้มาก ขึ้น
แต่ในอีกด้าน ยังมีวัฒนธรรมหรือธรรมเนียมหลายอย่างที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัย Suharto ทั้งเรื่องคอร์รัปชั่น การไม่ยอมรับความหลากหลายของประชากร ความเห็นแก่ตัว การใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา การละเมิดกฎหมาย ซึ่งวัฒนธรรมเหล่านี้ยังสืบทอดมาถึงอินโดนีเซียในยุคปัจจุบัน
การคอร์รัปชั่น ถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้อินโดนีเซียเกือบล่มสลายในวิกฤตเศรษฐกิจปี 1998 จนต้องรับเงินช่วยเหลือจาก IMF แม้ว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชั่นจะทำงานหนักแค่ไหนก็ตาม การคอร์รัปชั่นก็ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนปัญหาอื่นๆ ทั้งการไม่ยอมรับความหลากหลาย ความละโมบต่อสมบัติจนต้องละเมิดกฎหมาย ก็ยังสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
ปัญหาเหล่านี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า การปฏิรูปที่เน้นเฉพาะกลไกเชิงสถาบันนั้นไม่พอเพียงต่อการขับเคลื่อนอินโดนีเซียไปข้างหน้าอีกแล้ว
ปฏิวัติวิธีคิด (Mental Revolution)
การสร้างชาติอินโดนีเซียมักนำหลักการด้านเสรีนิยม (liberalism) มาประยุกต์ใช้ แต่หลักการนี้มีความขัดแย้งกับวัฒนธรรมและค่านิยมดั้งเดิมของอินโดนีเซีย นี่คือเวลาที่อินโดนีเซียควรแก้ไขปัญหานี้ เราไม่ต้องหยุดกระบวนการปฏิรูปประเทศที่แล้วๆ มา แต่ควร “ปฏิวัติวิธีคิด” ของคนอินโดนีเซียใหม่ สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ สร้างวัฒนธรรมทางการเมือง แนวทางการพัฒนาประเทศแบบใหม่ที่มีความเป็นมนุษย์ สอดคล้องกับวัฒนธรรม Nusantara ของหมู่เกาะอินโดนีเซียมากขึ้นการเลือกใช้คำว่า “ปฏิวัติ” หรือ revolution ไม่ได้เกินเลยไป เพราะอินโดนีเซียจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดในเชิงวัฒนธรรม การเมือง เลิกแนวทางแย่ๆ ที่สืบทอดมาจากสมัย Suharto อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปเชิงความคิดมีข้อแตกต่างจากการปฏิวัติในเชิงกายภาพ เพราะไม่ต้องมีกระบวนการเสียเลือดเนื้อ แต่จำเป็นต้องใช้พลังเชิงความคิดและจิตวิญญาณ รวมถึงการสนับสนุนจากบรรดาผู้นำประเทศ
เราจะสืบทอดแนวทาง Trisakti Bung Karno หลักการ 3 ข้อที่อดีตประธานาธิบดี Soekano พูดไว้เมื่อปี 1963 ว่าอินโดนีเซียจะต้อง
- เป็นเอกราชทางการเมือง
- พึ่งพาตัวเองได้ในทางเศรษฐกิจ
- มีคุณค่าเชิงสังคม-วัฒนธรรมของตัวเอง
ช่วงหลังเราเห็นการเลือกตั้งมีเรื่องเงินเข้ามายุ่งเกี่ยวมากขึ้น การซื้อเสียงเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของประเทศ เราต้องปรับปรุงกระบวนการคัดเลือกตัวแทนทางการเมือง ให้มาจากความสามารถและประวัติการทำงาน มากกว่าจะเป็นฐานะหรือความเชื่อมโยงกับผู้มีอำนาจแต่เดิม
เรายังต้องปรับปรุงระบบราชการให้สะอาด เชื่อถือได้ มีศักยภาพ เพื่อทำงานตอบโจทย์ของประชาชนและรัฐบาลจากการเลือกตั้ง หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายต้องทำหน้าที่ดูแลประชาชนให้ได้ตามกฎหมาย ส่วนกองทัพแห่งชาติอินโดนีเซียก็ไม่ได้มีความสำคัญน้อยไปกว่ากัน เพราะต้องปกป้องดินแดนรวมถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสาธารณรัฐ
ในทางเศรษฐกิจ อินโดนีเซียต้องหนีให้พ้นการพึ่งพาเงินลงทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ แนวทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมที่ผ่านๆ มาทำให้อินโดนีเซียติด “กับดัก” การพึ่งพาเงินลงทุนต่างชาติ และเสียทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่ภายใต้การครอบครองของบริษัทข้ามชาติ
การปฏิรูปประเทศตลอด 16 ปีที่ผ่านมาไม่ได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารเศรษฐกิจอินโดนีเซียมากนัก รัฐบาลเปิดให้นำเข้าสินค้าจากต่างชาติได้ง่าย ผู้นำระดับสูงของประเทศสนใจแต่การหารายได้ระยะสั้น โดยไม่สนใจผลกระทบระยะยาวว่าจะทำให้ชาวนาของอินโดนีเซียอยู่ไม่ได้ มันเป็นเรื่องน่าเศร้าเพราะเราเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ แต่กลับต้องนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ ดังนั้นอินโดนีเซียจำเป็นต้องยืนได้ด้วยขาของตัวเองในทางเศรษฐกิจ ซึ่งสอดคล้องตามหลัก Trisakti อยู่แล้ว เราต้องมีความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน สองเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราต้องมีแผนการและกำหนดเวลาที่ชัดเจน วัดผลได้ ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกจากอาหารและพลังงาน เรายังสามารถใช้การนำเข้า-ส่งออกเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจได้ต่อไป
การลงทุนจากต่างชาติเพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์ในรอบไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่เงินลงทุนส่วนใหญ่ไปอยู่ในอุตสาหกรรมที่เน้นเงินทุนและกำไร ไม่ได้เน้นการจ้างงาน เราจึงต้องทบทวนนโยบายด้านการลงทุนใหม่เช่นกัน
หลักการข้อที่สามของ Trisakti กล่าวถึงการสร้างวัฒนธรรมและอัตลักษณ์เชิงสังคมของอินโดนีเซีย คุณค่าความเป็นอินโดนีเซียเริ่มหดหายเมื่อเผชิญกับโลกาภิวัฒน์และความก้าว หน้าทางเทคโนโลยี เราไม่ควรให้ประชาชนของเราสูญเสียวัฒนธรรมเดิมไปกับกระแสของวัฒนธรรมโลก ที่อาจไม่สอดคล้องกับคุณค่าดั้งเดิมของเรา
ระบบการศึกษาเป็นสิ่งที่ต้องผลักดันเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของคนอินโดนีเซีย ในฐานะที่เป็นชาติอารยะและรุ่มรวยวัฒนธรรม เคารพคุณค่าทางศาสนา อินโดนีเซียต้องสร้างโครงการที่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงระบบการศึกษาและสาธารณ สุขให้สำเร็จ
เราจะเริ่มกันอย่างไร
ถ้าคนอินโดนีเซียเห็นพ้องกันว่าเราต้อง “ปฏิวัติวิธีคิด” แล้ว คำถามต่อไปคือเราจะเริ่มต้นกันอย่างไร คำตอบอยู่ที่ตัวเราเอง เราต้องเริ่มจากตัวเอง ครอบครัว เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน จากนั้นจึงค่อยขยายไปยังชุมชนและรัฐการปฏิวัติวิธีคิดจำเป็นต้องเป็นการเคลื่อนไหวระดับชาติ เราทุกคนต้องร่วมกันเปลี่ยนแปลงอินโดนีเซียให้เป็นประเทศเสรี ยุติธรรม และเจริญรุ่งเรือง เราต้องกล้าควบคุมอนาคตของเราเองภายใต้พรของพระอัลเลาะห์ เพราะว่าพระอัลเลาะห์จะไม่ช่วยเปลี่ยนแปลงชะตาของประเทศไหน จนกว่าคนของประเทศนั้นจะเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ผมเริ่มการเคลื่อนไหวนี้ตั้งแต่เป็นนายกเทศมนตรี Surakarta และทำงานต่อเนื่องเมื่อได้เป็นผู้ว่าราชการ Jakarta เท่าที่ผมทราบ เพื่อนที่คิดแบบเดียวกันก็เริ่มเคลื่อนไหวเพื่อ “ปฎิวัติวิธีคิด” ในพื้นที่อื่นๆ ผมหวังว่าแนวทางนี้จะพัฒนาตัวเองเป็นพลังในระดับชาติ เฉกเช่นเดียวกับการปฏิวัติอินโดนีเซียให้มีเอกสาร การปฏิวัติอินโดนีเซียไม่ได้สิ้นสุดลง แต่การปฏิวัติวิธีคิดกำลังเริ่มต้นขึ้นต่างหาก
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น