อียิปต์หลังการรัฐหาร[i] (2)
โดย Philip Marfleet
ในอียิปต์นั้น มีความพยายามของฝ่ายซ้ายและกลุ่มฝ่ายค้านอื่นๆ ที่จะสร้างแนวร่วมขึ้นมาหลังจากเผด็จการมูบารัคถูกล้มไปแล้ว แต่แนวร่วมดังกล่าวยังขาดประสิทธิภาพที่จะหาประเด็นร่วมที่สามารถเป็นข้อเรียกร้องยึดเหนี่ยวร่วมกันและมีปัญหาการแข่งการนำ แนวร่วมนี้ไม่สามารถตอบคำถามสำคัญๆ ที่เผชิญหน้าต่อการปฏิวัติได้ อย่างเช่น การขยายพื้นที่ประชาธิปไตย การรับมือกับทหาร หรือ การรับมือกับรัฐบาลมูซี่อย่างเป็นรูปธรรม ประเด็นการเมืองระหว่างประเทศที่มีความสำคัญๆ เช่น กรณีประเทศปาเลสไตน์ แนวร่วมฝ่ายซ้ายยังขาดเวทีหารือระดับชาติและองค์กรศูนย์กลางที่ทำหน้าที่ประสานงานเพื่อรวมข้อเสนอของส่วนต่างๆ เข้ามาเป็นเนื้อเดียวกัน
ฮาดีม ซาบบาฮี (Hamdeen Sabbahi) เป็นนักการเมืองอิสระในยุคเผด็จการมูบารัค และ มีความใกล้ชิดกับผู้นำสหภาพแรงงานอิสระก้าวหน้า คามอล อะบูอิตา (Kamal Abu-Eita) ในปี 2012 ซาบบาฮี ลงสมัครเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งเกือบชนะ มูซี่ ในรอบที่หนึ่งและได้รับคะแนนสูงกว่าคนของเผด็จการมูบารัค ซาบบาฮี ได้รับเสียงสนับสนุนอย่างล้นหลามจากคนงานและมวลชนที่สนับสนุนการปฏิวัติ ซาบบาฮี กลายมาเป็นตัวหลักสำคัญในการเป็นฝ่ายค้านในช่วงรัฐบาลมูซี่ โดย ซาบบาฮี ได้สร้างแนวร่วมเพื่อแก้ปัญหาแห่งชาติ (National Salvation Front หรือ NSF) ในยุคที่มูซี่กำลังแก้รัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจให้กับตนเอง ซาบบาฮี ได้เรียกร้องให้กลุ่มแนวร่วมฝ่ายค้านต่างๆ เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ NSF เพื่อผนึกกำลังต่อต้านพรรคมุสลิมฯ ซาบบาฮี มีบทบาทสำคัญในการดึงและชักชวนให้ฝ่ายค้านต่างๆหันไปจับมือกับทหาร หลังจากล้มรัฐบาลพรรคมุสลิมฯไปแล้ว หลายส่วนของฝ่ายค้านหันไปพึ่งพาทหารมากขึ้น ภายใต้คำมั่นสัญญาจากนายพล อัลซีซี่ ที่ต้องการสร้างเสถียรภาพและทำลายพรรคมุสลิมฯในทุกรูปแบบ ซึ่งข้อเสนอนี้ถูกต้อนรับโห่ร้องอย่างชื่นชมโดย นักธุรกิจ เครือข่ายอำนาจเก่าจากยุคเผด็จการมูบารัค ชนชั้นกลางและนักปฏิวัติผู้โกรธแค้นชิงชังพรรคมุสลิมฯ
หลังจากช่วงกลางปี 2013 กระแสนัดหยุดงานตกลง 60% ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการประกาศสภาวะฉุกเฉิน การประกาศเคอร์ฟิวส์ และการดักจับไม่เลือกหน้า แต่ในอีกด้านหนึ่งมันก็สะท้อนความอ่อนแอทางการเมืองในหมู่นักสหภาพแรงงานและแรงงานพื้นฐานซึ่งเป็นผลสะท้อนมาจากความอ่อนแอทางการเมืองโดยรวมของฝ่ายค้าน ซึ่งสะท้อนออกมาโดยที่ผู้นำแรงงานก้าวหน้าและกลุ่มเสรีนิยมเข้าไปร่วมมือในรัฐบาลชั่วคราวของรัฐบาลทหาร ภายใต้ข้อเรียกร้อง “เสถียรภาพ เคารพกฎกติตา และ ความสงบสุขทางสังคม” กองทัพได้ฉกฉวยความชอบธรรมทางการเมืองและองค์กรของมวลชนบนท้องถนน สร้างความชอบธรรมให้กับตัวเอง ให้ไปอยู่ในตำแหน่งที่สามารถ “ทำลายการปฏิวัติ” ได้ โดยอ้างว่าทหารมีบทบาทในการนำและปกป้องการปฏิวัติ
หลังจากรัฐบาลของพรรคมุสลิมฯ ถูกล้มลงไปกองทัพ และ ซาบบาฮี ได้เบี่ยงเบนประเด็นปัญหาหลักๆที่กำลังเกิดขึ้นในอียิปต์ โดยอธิบายว่าอุปสรรคหลักที่ขัดขวางไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอียิปต์นั้นมีสาเหตุมาจาก “ภัยก่อการร้าย” จากพรรคมุสลิมฯ ฉะนั้นพรรคการเมืองต่างๆที่เหลืออยู่ควรจะสามัคคีกันเพื่อทำลายภัยร้ายแรงดังกล่าว
คามอล อะบูอิตา (Kamal Abu-Eita) ผู้นำแรงงานก้าวหน้าจากสหภาพแรงงานอิสระ ซึ่งมีความใกล้ชิดกับ ซาบบาฮี หลังจากรับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานได้ออกแถลงการเรียกร้องให้คนงานเลิกนัดหยุดงาน เพื่อสนับสนุนช่วงรอยต่อของการสร้างชาติอียิปต์ขึ้นมาใหม่ มันเป็นที่ชัดเจนว่า อาบู-อิตา ผู้นำแรงงานอิสระซึ่งครั้งหนึ่งเคยก้าวหน้าได้ทรยศคนงานและหันไปปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มทุน นักลงทุน และ กองกำลังความมั่นคง หลังจากนั้นไม่นานรัฐบาลของทหารได้ทำการปราบปรามฝ่ายพรรคมุสลิมฯ อย่างป่าเถื่อน มีการตรวจค้น และส่งคนเข้าคุกเป็นพัน บางส่วนของคณะรัฐมนตรีที่ครั้งหนึ่งเคยก้าวหน้าเลือกที่จะเงียบเฉย จากนั้นไม่นานนายพล อัลซีซี่ ได้เพิ่มยศให้ตัวเองเป็นจอมพล กองทัพสามารถฟื้นฟูตัวเองขึ้นมาได้มาจากสองสาเหตุหลัก คือ การใช้โครงสร้างเดิมในยุคเผด็จการมูบารัคที่ยังไม่ถูกทำลายลงไปและพลังบางส่วนของนักปฏิวัติ
ทหารและประชาชน
กองทัพอียิตป์รุ่นแล้วรุ่นเล่ามักจะอ้างความชอบธรรมจาก ประชาชน ชาติ และ การปฏิวัติ ในยุคของ กามอล อับเดล นัสเซอร์ ซึ่งเป็นผู้นำคนแรกหลังจากที่อียิตป์ได้รับเอกราช มีความพยายามทำรัฐหารประหารถึง 18 ครั้ง จาก 1952-1966 นัสเซอร์และกลุ่มทหารยังเตริกเอง ก็ทำรัฐหารต่อรัฐบาลราชวงศ์ที่สนับสนุนจักรวรรดิ์นิยมอังกฤษ ซึ่งกองทัพขณะนั้นก็อ้างว่า “รับใช้ประชาชน” ซึ่งกลายมาเป็นเครื่องมืออันทรงพลัง กองทัพกลายเป็นหัวหอกนำการปฏิวัติภายใต้ข้อเสนอของการมีอำนาจในการปกครองตนเอง นโยบายการปฏิรูปต่างๆ เช่น การปฏิรูปที่ดินถูกนำเสนอว่าเป็นความต้องการของมวลชน ตลอดยุคของนัสเซอร์ กองทัพและรัฐเป็นเงาซึ่งกันและกัน นัสเซอร์เองก็แสดงบทบาทผู้ที่ดูแลผลประโยชน์ของประชนชน
ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2011 ที่มีการประท้วงต่อเนื่องและแหลมคม ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2011 เผด็จการมูบารัคถูกล้ม สัปดาห์นั้นมีการต่อสู้อย่างดุเดือดระหว่างมวลชนกับกองกำลังอันธพาล พร้อมๆกับเป็นช่วงที่สภาสูงสุดของกองทัพ (Supreme Council of the Armed Forces, SCAF) พยายามที่จะยึดอำนาจจาก เผด็จการมูบารัค โดยอ้างว่ากองทัพ กำลังปกป้อง ดูแลผลประโยชน์ของประชาชน และ ปกป้องความมั่นคงของชาติ ดูเหมือนความต้องการของกองทัพและประชาชาดูสอดคล้องกัน พวกนายพลก็อ้างความชอบธรรมจากบทบาทในอดีตของกองทัพยุคนัซเซอร์และกลุ่มยังเตริก กลายมาเป็นคำขวัญ “กองทัพและประชนชนคือกำปั้นอันเดียวกัน”
อ่านต่อตอนสุดท้ายฉบับหน้า
[i] บทความนี้ แปลและเรียบเรียงบางส่วนจาก Egypt: after the coup by Philip Marfleet , 2014, International Socialism, Issues 142 (http://bit.ly/1icp7Fa)
อียิปต์หลังการรัฐหาร (1)
โดย Philip Marfleetแปลและเรียบเรียงโดย นุ่มนวล ยัพราช
Photo : BBC
การที่ทหารขึ้นมามีอำนาจในเดือน กรกฏาคม 2013 นั้นนับเป็นเรื่องน่ากังวลอย่างมากสำหรับนักปฏิวัติอียิปต์ นายพล อับเดล ฟาตตาท เอลซีซี่ (Abdel-Fattah el-Sisi) อ้างว่ากำลังช่วยรื้อฟื้นการปฏิวัติ แต่ในความเป็นจริงนั้นมันเป็นการปฏิวัติซ้อน รูปแบบการปราบปรามอย่างป่าเถื่อนในยุคเผด็จการมูบารัคถูกนำกลับมาใช้เพื่อทำลายการปฏิวัติที่ถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 25 มกราคม 2011 มีการประกาศโทษประหารชีวิตนักกิจกรรมพรรคมุสลิมบราเธอฮูดถึง 529 คนในเวลาเดียวกัน
ขบวนการเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เคยเบ่งบานในยุคหลังการปฏิวัติกำลังตกอยู่ในวิกฤติ อย่างไรก็ตามการปฏิวัตินั้นยังไม่ถูกทำลายไปเสียทีเดียว ขบวนการแรงงานยังเต็มไปได้ความมีชีวิตชีวาและไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ซึ่งสร้างความกังวัลให้กับกองทัพและพรรคพวกที่ต้องการสถาปนารัฐเผด็จการขึ้นมาใหม่ เพราะมันตอกย้ำว่าปัญหาที่ทำให้เกิดการปฏิวัติขึ้นมาตั้งแต่ต้นนั้นยังไม่ได้รับการถูกแก้ อีกทั้งวิกฤติเศรษฐกิจที่ทวีความรุนแรงเพิ่มข้น ในเดือนมกราคมซึ่งเป็นเดือนครบรอบการปฏิวัติ มีการเพิ่มกองกำลังทหารและตำรวจตามจตุรัจต่างๆ อัลซีซี่ ได้ส่งสารไปถึงชาวอียิปต์ว่า “ตอนนี้ทหารคุม” ซึ่งครั้งหนึ่งมวลชนชาวอียิปต์เป็นเจ้าของ อย่างไรก็ตามการนัดหยุดงานอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งประเทศ ภายใต้ข้อเรียกร้องการเพิ่มค่าจ้างและทวงสัญญาต่างๆจากรัฐบาล มีการเรียกร้องให้ถอดถอนพวกผู้จัดการที่ตกค้างมาจากยุคเผด็จการมูบารัคและปัญหาการคอรัปชั่นต่างๆ
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 รัฐบาลของทหารนั้นแตกออกเป็นเสี่ยงๆ รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ตบเท้าลาออกเพราะทนแรงบีบไม่ไหวเพราะกองทัพต้องการเพิ่มระดับการควบคุมขบวนการแรงงาน ซึ่งไม่ยอมลดละเกี่ยวกับข้อเรียกร้องที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลง ข้อเรียกร้องแรกของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่เพิ่งแต่งตั้ง คือ เรียกร้องให้คนงานเลิกนัดหยุดนัดงาน ประท้วง และยึดโรงงาน เพื่อเปิดทางให้กับกระบวนการสร้างชาติ หัวหอกที่เป็นตัวหลักในคลื่นนัดหยุดงานคลื่นล่าสุด คือ หมอ เภสัชกร พนักงานขนส่งมวลชน ตำรวจ ผู้กินบำเน็จบำนาญ พนักงานไปรษณีย์ คนงานทอผ้า และ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ชนิดต่างๆ
หลังจากรัฐประหารในเดือนกรกฎาคม 2013 นายพลอัลซีซี่ เปิดแนวรบกับขบวนการแรงงานในหลายส่วน แต่ไม่มั่นใจพอที่จะรบกับคนงานรากหญ้าในสถานประกอบการต่างๆ สามารถปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขาได้พร้อมๆกับคนงานรากหญ้ากลายมาเป็นหัวใจสำคัญของการปกป้องการปฏิวัติ จุดนี้คือประเด็นสำคัญสำหรับฝ่ายซ้ายว่าเราจะวิเคราะห์ประเด็นที่ฝ่ายเราถูกทำลาย และ เราจะตอบโต้กลับไปอย่างไร ในขณะที่นักกิจกรรมโดยส่วนใหญ่ยังสับสนกับพัฒนาการล่าสุด การวิเคราะห์ที่แหลมคมตรงกับความเป็นจริงเป็นสิ่งจำเป็น ประเด็นหนึ่งที่จะมองให้ทะลุคือ ความต้องการของกองทัพและนักการเมือง กับ ความเป็นไปได้ของพลังการกดดันจากข้างล่างเพื่อผลักดันการปฏิวัติ
รัฐประหารและระดับการกดขี่
หลังจากเผด็จการมูบารัคล้มลงไปใหม่ๆ สภาสูงสุดของกองทัพ ( Supreme Council of the Armed Forces (SCAF)) ได้ทำข้อตกลงกับพรรคมุสลิมฯ ก่อนการเลือกตั้ง โดยพรรคมุสลิมฯจะต้องฟื้นฟูสถานการณ์ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุดโดยเฉพาะการควบคุมขบวนการแรงงาน และปกป้องผลประโยชน์ของกองทัพทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ พรรคมุสลิมฯ ถูกพิสูจน์ว่าล้มเหลวในการสร้างเสถียรภาพพร้อมๆกับไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังของมวลชนหลังการปฏิวัติได้ สถานการณ์ย่ำแย่เพิ่มขึ้นเมื่อพรรคมุสลิมฯออกนโยบายที่ให้ผลประโยชน์กับพวกพ้องตัวเอง การกระทำดังกล่าวได้สร้างความโกรธแค้นให้กับมวลชนอย่างมาก ในช่วงต้นปี 2013 จำนวนการนัดหยุดงาน ยึดโรงงานมีจำนวนสูงมากเป็นประวัติศาสตร์ ขบวนการแรงงานอิสระเต็มไปด้วยความมั่นอกมั่นใจ ผนวกกับปัญหาไฟดับ ขาดแคลนเชื้อเพลิง และ ราคาปัจจัยพื้นฐานในการอุปโภคถีบตัวสูงขึ้น อารมณ์ความไม่พอใจทำให้เพิ่มความระอุของการต่อสู้ทางการเมือง แม้กระทั่งตำรวจก็นัดหยุดงาน ในสภาวะการณ์ที่เต็มไปด้วยวิกฤติเช่นนี้ นายพลอัลซีซี่ พยายามที่จะแยกตัวออกมาจากมูซี่ และมองหากลไกใหม่ๆที่จะปกป้องสถาบันหลักๆของรัฐเผด็จการที่เหลืออยู่พร้อมๆ กับพยายามกู้คืนความเสียหายของกลุ่มทุนในอียิปต์โดยรวม
กลุ่มทางการเมืองในอียิปต์หลังการปฏิวัตินั้นมีอยู่หลายกลุ่ม ประกอบไปด้วยพรรคการเมืองชนิดต่างๆ แนวเสรีนิยม มุสลิม สังคมนิยม กลุ่มเครือข่ายอำนาจเดิม กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มข้าราชการชั้นสูง กลุ่มศาล โดยเฉพาะกลุ่มหลังๆนี้เกลียดและต้องการทำลายการปฏิวัติ สถานการณ์ทางการเมืองได้ก้าวมาถึงจุดที่กลุ่มต่างๆเหล่านี้และกลุ่ม Tamarodสามารถมีข้อเรียกร้องร่วมกัน คือ “มูซี่ ออกไป!” กลุ่ม ทามารอด (Tamarod แปลว่า การขบถ) เป็นกลุ่มรณรงค์ทางการเมืองมีฐานสำคัญอยู่บนท้องถนน พอ Tamarod เรียกร้องให้มูซี่ลาออก กองทัพก็เริ่มออกมาเคลื่อนไหวอยู่ข้างหลัง Tamarod ทันที ในวันที่ 30 มิถุนายน2013 ซึ่งเป็นวันประท้วงใหญ่ระดับชาติ ภายใต้การผลักดันโดยกลุ่ม Tamarod มีมวลชนเข้าร่วมมหาศาล ถึงตอนนี้กองทัพฉวยโอกาสเข้าแทรกแซงการประท้วงอย่างเปิดเผย โดยกองทัพสั่งให้มูซี่ทำตามคำสั่งของประชาชน ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนั้น มามอล บาด (Mahmoud Badr) ได้ออกมาเรียกร้องให้กองทัพเข้ามาแทรกแซงเพื่อล้มมูซี่ โดยอ้างว่า“กองทัพมีประวัติศาสตร์อยู่เคียงข้างประชาชน” ถึงตอนนี้ Tamorod หมดสภาพเป็นองค์กรรณรงค์ทางการเมืองแต่กลายมาเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับกองทัพ จากนั้นไม่นาน มามอล และ แนวร่วมฝ่ายค้านก็ได้เข้าไปเจรจากับกองทัพที่สำนักงานใหญ่ของหน่อยสืบข้าราชการลับ กองทัพประสบความสำเร็จในการทำลายความเข้มแข็งของขบวนการปฏิวัติผ่านการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการประท้วง
ขบวนการประท้วงที่ประสบความสำเร็จในช่วงต้นนั้นประกอบไปด้วย ขนาดของมวลชนที่เข้าร่วม ความมีชีวิตชีวา และ การประท้วงที่ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามภายใต้รูปแบบดังกล่าวมันได้ทิ้งปัญหาไว้หลายประการ เช่น การขาดองค์กรทางการเมืองของมวลชนที่มีประสบการณ์สามารถรักษาเป้าหมายการปฏิวัติและผลักดันการปฏิวัติให้ไปข้างหน้าได้ มวลชนและนักวิชาการบางส่วนมองว่าการไม่มีองค์กรนั้นเป็นจุดแข็งของขบวนการปฏิวัติ เพราะการไม่มีองค์กรศูนย์กลางและผู้นำ จะช่วยขยายการเข้ามามีส่วนร่วมของมวลชน ลดช่องว่าที่พรรคการเมืองแบบเดิมจะเข้ามามีอิทธิพล กลุ่มต่างๆ ในขบวนการปฏิวัตินั้นตั้งขึ้นมาเพื่อการรณรงค์ที่เฉพาะเจาะจงไม่เน้นการมีเรียกร้องร่วม เฉกเช่นในรูปแบบของพรรคการเมือง สหภาพแรงงาน หรือ กลุ่มย่าน
แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2011 ขบวนการประท้วงได้เรียกร้องให้สภาพแรงงานเข้าร่วมเพื่อเพิ่มหลักประกันในชัยชนะของการล้มเผด็จการมูบารัค ขบวนการประท้วงขณะนั้นมีความเข้มแข็งมาก คนงานรากหญ้าเริ่มผลักประเด็นไปข้างหน้า ผันประสบการณ์จากการเข้าร่วมต่อสู้ทางการเมืองไปสู่การนัดหยุดงานทำให้นายจ้างและรัฐบาลหยุดชะงัก กระแสสูงการนัดหยุดงานในช่วงกลางปี 2013 เพิ่มความกังวลให้ทหารจนต้องออกมาแทรกแซง การที่Tamarod หมกมุ่นอยู่กับความโกรธแค้นจากการทรยศของพรรคมุสลิมฯ ไปเพิ่มความได้เปรียบให้กับฝ่ายอำนาจเก่าที่เกลียดการปฏิวัต พวกนี้ได้ฉวยโอกาสใช้มวลชนบนท้องถนนเพื่อทำการปฏิวัติซ้อนและทำลายความเข้มแข็งของขบวนการประท้วงในที่สุด (อ่านต่อตอนที่สอง ฉบับหน้า)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น